|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักงบประมาณของรัฐสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 13 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
วันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6 อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักงบประมาณของรัฐสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์งบประมาณ โดยมี นายชูเกียรติ รักบำเหน็จ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 3 สำนักงบประมาณของรัฐสภา กล่าวรายงาน ทั้งนี้ นายมาณิช อินทฉิม ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ น.ส.ปรียาภรณ์ แก้วโยน ผู้อำนวยการ สำนักกรรมาธิการ 1 นายชูพงศ์ นิลสกุล ผู้อำนวยการสำนักกรรมาธิการ 2 น.ส.สิตาวีร์ ธีรวิรุฬห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร และนายนพรัตน์ ทวี อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณของรัฐสภา พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด ร่วมโครงการ โอกาสนี้ นางพรพิศ เพชรเจริญ กล่าวว่า มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสำนักงบประมาณของรัฐสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คำนึงถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรโดยมีหัวใจสำคัญคือการมีความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ดีและมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการ รวดเร็ว มีความเท่าทัน และสามารถปฏิบัติงานตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงความคาดหวังของสาธารณะ โดยเฉพาะการทำบทบาทหน้าที่ของ PBO (Parliamentary Budget Office) สำนักวิชาการ สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักกรรมาธิการ 2 สำนักกรรมาธิการ 3 และสำนักพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการในครั้งนี้ ทั้งนี้ ในส่วนของ PBO นั้น นายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา เคยกล่าวว่าต้องการให้เรียกว่า สงร. เพื่อความเป็นไทย สำหรับการเตรียมการในเรื่องนี้ได้มีการจัดทำเป็นซีรีส์ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากจึงขอชื่นชมและขอบคุณ โดยสิ่งที่เราต้องเตรียมการนอกเหนือจากการรองรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่แล้ว เราต้องทบทวนว่าสิ่งที่เราทำในอดีตที่ผ่านมานั้น เราได้ทำในทิศทางที่ถูกต้องแล้วหรือยัง และกระบวนทัศน์ที่เรากำลังจะไปนั้นควรเป็นแบบใด อย่างไร ซึ่งเราต้องทบทวนตัวเราเองอยู่เสมอ นั่นคือเรื่องของการพัฒนาบุคลากร โดยในแต่ละสำนักหรือในสายงานที่ดูแลเรื่องเหล่านี้ต้องเห็นถึงความสำคัญ ซึ่งในอดีตท่านสมาชิกจะนำเอกสารของ สงร. ไปอภิปรายในการพิจารณางบประมาณหรือเรื่องของนโยบาย การศึกษาต่าง ๆ ที่เราได้นำเสนอต่อสาธารณะมาโดยตลอด แต่สิ่งที่เราต้องทำต่อไปในอนาคต ทั้งอนาคตอันใกล้ กลาง และในระยะยาว จะต้องไปในทิศทางใด โดยเราต้องทบทวนตัวเองอยู่เสมอว่ายุทธศาสตร์และสิ่งที่เราจะไปนั้นเป็นอย่างไร ซี่งในบริบทของการวิเคราะห์ในเทรนด์ของท่านสมาชิกที่ท่านคาดหวังว่า สงร. ควรมีบทบาทอย่างไร การเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เป็น Open Data ต่าง ๆ ที่จะเป็น Source เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยในส่วนของภาครัฐที่กล่าวว่า Open Data นั้น ความเป็นจริงแล้วจะสามารถเชื่อมต่อกันได้จริงหรือไม่ เราจะสามารถทลายกำแพงในเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร เราต้องคิดและส่งให้ผู้บริหารของสำนักงานเพื่อผลักดันเรื่องเหล่านี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมว่าจะทำเพียง MOU เพียงพอหรือไม่ หรือต้องทำให้เป็นกฎ ระเบียบ หรือกฎหมาย เพราะการที่รัฐกล่าวว่าข้อมูลต่าง ๆ เป็น Open Data นั้น เราจะวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลในเชิงนโยบายให้กับท่านสมาชิกในการกำกับดูแลควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับงบประมาณ หรือในเรื่องการศึกษานโยบายการใช้จ่ายงบประมาณในทุกบริบทซึ่งในเรื่องเหล่านี้ ความชัดเจนในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติหรือเรามีข้อจำกัดอะไร เราต้องสะท้อนกลับมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยสิ่งที่พวกเราต้องทำอย่างเข้มแข็งคือต้องคิดวิเคราะห์ในเรื่องเหล่านี้ภายใต้บริบทความเป็นจริงของสังคมและเทรนด์ในด้านนิติบัญญัติ และ Supporter ของเราเห็นด้วยกับเรามากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ บุคลากรของเรามาจากหลายหน่วยงานซึ่งจะทราบถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเชื่อมต่อข้อมูลเป็นอย่างดี โดยตนนั้นเคยมีประสบการณ์ทำงานมาเกือบทุกสำนัก เคยอยู่กับน้อง ๆ เหล่านี้มาตั้งแต่เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย ทำให้เห็นภาพในทุกบริบท และการที่เราได้จัดโครงการดี ๆ เช่นนี้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการสนับสนุนการพิจารณาอนุมัติงบประมาณนี้ ขอให้เราอย่าเป็นน้ำที่เต็มแก้ว แต่ขอให้เก็บเกี่ยวทุกองค์ความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของเรา นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงการจัดทำแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้กับสมาชิกว่า เมื่อวานนี้ได้รับรายงานสรุปผลการประชุมในหัวข้อ แนวคิดการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลรัฐสภาของ IPU กับ ASGP Focus Group on Digital Transformation ที่ได้มีการประชุมแบบออนไลน์เมื่อเดือน พ.ค. ซึ่งตนได้มอบหมาย น.ส.สตีจิตร ไตรพิบูลย์สุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมประชุม และเมื่อครั้งที่ไปประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภาก็ได้รับการชื่นชมจาก IPU และ ASGP ว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ความร่วมมือดีมากและยังเห็นว่ารัฐสภาไทยมีความก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาดิจิทัลในรัฐสภา จึงทำให้เห็นว่าเทรนด์ของโลกคือรัฐสภาเป็นเรื่องดิจิทัลไปแล้ว ดังนั้น ในส่วนที่เราทำ Content เรื่องราวต่าง ๆ นั้น จะมีวิธีนำเสนอให้แก่สมาชิกและบุคคลในวงงานรัฐสภาได้รวดเร็วอย่างไร เราสร้าง Infrastructure หรือสิ่งใด ๆ ไว้มากมาย การที่จะนำเสนอให้แก่สมาชิกนั้นขณะนี้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในโทรศัพท์มือถือของสมาชิกแล้ว ซึ่งการที่เราจะทำสิ่งใด ๆ ให้แก่สมาชิก ไม่ว่าจะเป็น เอกสารหรืออะไรก็ตาม ขอให้จัดวางไว้ในแอปพลิเคชันที่จะนำเสนอให้กับสมาชิกได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การที่จะดำเนินการต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองเนื้อหาสาระที่จะต้องนำเสนอให้กับผู้ที่เราต้องการสื่อสาร จึงขอให้สกัดองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้าไปพัฒนาในแอปพลิเคชัน สำหรับรัฐสภาไทยนั้น ขอให้พวกเราติดตามว่าเราได้เตรียมช่องทางในการสร้าง Infrastructure หรือ Platform ต่าง ๆ ที่จะนำเสนอต่อสมาชิกซึ่งเราจะได้มาคิดร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งขอฝากให้มีการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของบุคลากรในระดับปฏิบัติการเพราะทุกคนจะต้องมี Content ในตัวเองที่จะสามารถนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ได้ในทุกบริบท โดยตนต้องการเห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สนับสนุนกระบวนงานด้านนิติบัญญัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนในการจัดโครงการดี ๆ ในครั้งนี้ ให้กับ สงร. และภาคเครือข่ายที่เข้ามาร่วมโครงการ และขอให้ทุกท่านพร้อมทั้งบุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด มีความสุข สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นพลังร่วมกันในการพัฒนาและสร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติต่อไป จากนั้น เป็นการบรรยายในหัวข้อ กระบวนการคิดเพื่อการออกแบบนโยบายสาธารณะ โดย น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด และในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มอภิปรายในหัวข้อ การคิดโจทย์และการออกแบบการศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดทำงานวิชาการ โดย ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ สำหรับโครงการดังกล่าว สำนักงบประมาณของรัฐสภาร่วมกับสำนักพัฒนาบุคลากร จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะความสามารถในการวิเคราะห์งบประมาณโดยเฉพาะกระบวนการคิดเพื่อการออกแบบนโยบายสาธารณะ การคิดโจทย์และออกแบบการศึกษาวิเคราะห์ การเขียนบทความวิชาการ การตั้งข้อสังเกตและการเสนอแนะ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาเมืองและท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนการพิจารณางบประมาณ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์งบประมาณ ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ กิจกรรมที่ 2 การอบรม เรื่อง การเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์และเผยแพร่ผลงานวิชาการ ซึ่งจะจัดในวันพรุ่งนี้ ณ อาคารรัฐสภา กิจกรรมที่ 3 การศึกษาดูงาน เรื่อง การพัฒนาเมืองและท้องถิ่น จ.นครราชสีมา และกิจกรรมที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนการพิจารณางบประมาณ ซึ่งจะจัดในวันพฤหัสบดีที่ 15 และวันศุกร์ที่ 16 มิ.ย. 66 ณ จ.นครราชสีมา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการสำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักวิชาการ สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักกรรมาธิการ 2 สำนักกรรมาธิการ 3 และสำนักพัฒนาบุคลากร จำนวน 50 คน และวิทยากร จำนวน 11 คน |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|