วันอังคารที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ ๑๕.๑๕ นาฬิกา ณ ห้องศาลาแดง พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นาย Ahmad Rusdi เอกอัครราชทูต อินโดนีเซียประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรประจำ ESCAP และนาย Juan Reig กรรมการ บริหารองค์การลูกเสือโลก ร่วมเป็นวิทยากร ในหัวข้อ การลูกเสือและบทบาทภาครัฐสภาในการ ผสานพลังความพยายามเพื่อสนองตอบต่อประเด็นท้าทายของโลก (Scouting and Parliamentary Roles in Synergizing Efforts in Response to Global Challenges) โดยมีนางสาวกฤษณี มาศรีจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ นายอดุลย์รัตน์ นิ่มเจริญ จากสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินรายการ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยประเทศสมาชิกสหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก (WSPU) องค์กรลูกเสือโลก (WOSM) ลูกเสือวชิราวุธ ลูกเสือเยาวชนจากสมาคมลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) และลูกเสือจากโครงการพัฒนา ผู้นำนักประชาธิปไตยสำหรับเยาวชนด้วยกระบวนการลูกเสือ โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง รวมจำนวน ๓๐ คน ที่ประชุมได้รับฟังข้อมูลและ ประสบการณ์จากการนำเสนอของ พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ได้นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs) โดยได้ยกตัวอย่างโครงการต่าง ๆ ที่บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจเป็นอย่างมากและ จะนำไปปรับใช้กับการลูกเสือในประเทศตน นาย Ahmad Rusdi เอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรประจำ ESCAP นำเสนอบทบาทของลูกเสือในการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านความเท่าเทียม ทางเพศ ด้านสันติภาพ ความหลากหลาย การรักษาสิ่งแวดล้อม และการตอบสนองต่อเหตุ ภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน และเห็นว่ารัฐสภาสามารถสนับสนุนงานของลูกเสือได้โดยการ ออกกฎหมายและวางแผนงบประมาณ และนาย Juan Reig กรรมการบริหารองค์การ ลูกเสือโลก นำเสนอว่า เมื่อประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน เมื่อปี ๒๕๕๘ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโลกที่ดีขึ้น เหล่าลูกเสือก็ควรที่จะผูกพันตน ในการปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วย พร้อมทั้งเสนอแนะให้สมาชิกรัฐสภา กำหนดกรอบการดำเนินกิจกรรมของลูกเสือให้ชัดเจน เช่น กำหนดเรื่องการจัดค่าย ลูกเสือให้มีความสะดวกมากขึ้น และสามารถที่จะเรียนรู้ธรรมชาติได้จากการเข้าค่าย เพื่อปกป้องโลก ทั้งนี้เนื่องจากบางประเทศยังมีอุปสรรคในเรื่องดังกล่าวอยู่ นอกจากนี้ ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาได้พบปะกับลูกเสือเพื่อได้ทราบถึงความต้องการของทั้งองค์กร ลูกเสือและลูกเสือ โดยเฉพาะลูกเสือเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ดี ในประเด็นเรื่องการจัดสรร งบประมาณเพื่อการดำเนินกิจกรรมของลูกเสือนั้น พลเอก วรพงษ์ ได้เสนอว่า หากสหภาพ ลูกเสือรัฐสภาโลก (WSPU) มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อประเด็นต่าง ๆ ของโลก แต่ละประเทศก็ควรนำวัตถุประสงค์นั้นมาดำเนินการ โดยให้ระบุโครงการ แนวคิด ยุทธศาสตร์ และวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนแน่วแน่ หากทำได้เช่นนี้ก็ขอให้มั่นใจว่าการลูกเสือ จะได้รับจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างแน่นอน
|