วันจันทร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ให้การรับรอง นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
ประจำประเทศไทย (UNDP) และคณะ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่ได้รับโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และหารือเกี่ยวกับบทบาทของ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับสมาชิกและเจ้าหน้าที่รัฐสภา ตลอดจนกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อผลักดันเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต
ในการนี้ นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้บริหาร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมให้การรับรองโดยเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวชื่นชมบทบาทของ UNDP ประเทศไทย
โดยเฉพาะการดำเนินการด้าน Sex Workers หรือ กลุ่มผู้ค้าบริการทางเพศ
ซึ่งในสังคมไทยถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ถูกละเลยมาตลอด รวมทั้งเรื่องของสิทธิทางกฎหมาย ที่ยังได้รับความคุ้มครองจากภาครัฐน้อยมาก เนื่องจากเป็นอาชีพที่สังคมไม่ยอมรับ อีกทั้งยังได้กล่าวถึงกลไกของสภาที่พร้อมจะทำงานเชื่อมโยงกับ UNDP อาทิ ชุดข้อมูล ด้านสตรีที่ได้รับจาก UNDPซึ่งสามารถส่งผ่านไปยังคณะ กมธ.ที่เกี่ยวข้อง และสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ไปสู่ ประชาชน
ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี ๒๕๖๔ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เตรียมดำเนิน โครงการเพื่อให้บุคลากรของสำนักงานฯ ตระหนักและเห็นความสำคัญของเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs และด้าน e-budgeting หรือระบบการจัดการ งบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจาก UNDP ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา เป็นผู้ประสานงานหลักกับ UNDP ต่อไป สำหรับ UNDP ประเทศไทยนั้น มีแผนงาน ความร่วมมือ ฉบับปี ๒๕๖๐ ๒๕๖๔ เป็นกรอบแนวทางในการทำงานร่วมกับ รัฐบาลไทย ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่าง สหประชาชาติและประเทศไทย
โดยกรอบความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๕๖๔ทั้งนี้ เมื่อเดือน ส.ค. ๖๓ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยทั้งสองฝ่ายได้กำหนดขอบเขตและประเด็นความร่วมมือที่มีความสนใจ ร่วมกันแบบไม่ผูกขาดไว้ ๔ ด้านได้แก่ ๑. การสร้างความตระหนักและเพิ่มพูนความรู้ เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับสมาชิกและเจ้าหน้าที่รัฐสภา ๒. การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของสมาชิกและเจ้าหน้าที่ รัฐสภาในการดำเนินงานเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
๓. การเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกรัฐสภาและเจ้าหน้าที่รัฐสภาเพื่อแก้ไขปัญหา และนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
๔. การอำนวยความสะดวกในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและเจ้าหน้าที่รัฐสภากับหน่วยงาน ที่ดำเนินการเรื่องการพัฒนาอื่น ๆ ในประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์เกี่ยวกับงาน รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |