คอลัมน์: ไขปัญหาผู้บริโภค: หัวเสียบเข็มขัดนิรภัยแบบหลอก สคบ.เตือนเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ
Source - เดลินิวส์ (Th)
Friday, September 08, 2017 03:50
46260 XTHAI XECON MIDD DAS V%PAPERL P%DND
โดย สคบ.
E-Mail www.ocpb.go.th
จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน ได้ปรากฏข้อมูลรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนสะสมปี 2560 (ตรวจสอบข้อมูล เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2560) ที่ผ่านมาพบว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 10,065 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 666,534 คน ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าวิตกกังวล เป็นอย่างมากและก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจมหาศาล ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามกำหนดมาตรการและปรับปรุงข้อกฎหมายด้านความปลอดภัยของรถจักรยานยนต์และรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาห กรรมได้กำหนดให้เข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์เป็นสินค้าประเภทมาตรฐานบังคับตาม มอก. 721-2551 ซึ่งผู้ผลิตเข็มขัดนิรภัยรถยนต์จะต้องมีการผลิตสินค้าดังกล่าวภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยของสำนักงานมาตรฐานผลิต ภัณฑ์อุตสาหกรรมและประกาศของกรมการขนส่งทางบก เรื่องหลักเกณฑ์การติดตั้งและคุณ สมบัติของเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2555 อย่างเคร่งครัด
แต่ในความเป็นจริงกลับมีการปรากฏข้อมูลผ่านเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีการประกาศขายสินค้าหัวเสียบเข็มขัดนิรภัย เพื่อตัดเสียงเตือนของรถยนต์ที่มีการร้องเตือนการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดยมีการผลิตออกมาเป็นลวดลายการ์ตูนชื่อดังเป็นจำนวนมาก เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้มีการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าว
แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์ ตาม มอก.721-2551 ซึ่งกำหนดลักษณะของ "เข็มขัดนิรภัย" (safety-belt, seat-belt) หมายถึง ชุดอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยสายคาดที่มีหัวเข็มขัด อุปกรณ์ปรับความยาว และอุปกรณ์ยึดที่สามารถยึดติดกับโครงสร้างที่อยู่ด้านในของรถยนต์ และได้รับการออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บของผู้ใช้ในกรณีที่รถยนต์ เกิดการชน หรือลดความเร็วลงอย่างกะทันหัน
โดยจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ โดยทั่วไปเรียกกันว่าชุดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูดซับพลังงานหรือดึงกลับสายคาดด้วย จะเห็นว่า "หัวเสียบเข็มขัดนิรภัย เพื่อตัดเสียงเตือนของรถยนต์" เป็นสินค้าที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการให้ตัดเสียงเตือนไม่คาดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์เท่านั้น ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองให้ผู้ใช้รถยนต์ให้มีความปลอดภัยแต่ประการใด ซึ่งอาจเข้าข่ายส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีการฝ่าฝืนกฎหมายไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอีกทางหนึ่งด้วย
สคบ. จึงขอฝากเตือนมายังผู้บริโภคไม่ควรซื้อ "หัวเสียบเข็มขัดนิรภัย เพื่อตัดเสียงเตือนของรถยนต์"มาใช้งาน เพียงแค่ต้องการลดความรำคาญจากเสียงเตือนไม่คาดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์เท่านั้น เพราะนั่นจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ใช้รถยนต์ขาดความระมัดระวังในการขับขี่หรือโดยสารรถ ยนต์มากยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้มีการกระทำ ความผิดตามกฎหมายจราจร รวมถึงการเพิ่มความเสี่ยงจากการประสบอุบัติเหตุมากยิ่งขึ้น โดย สคบ. จะมีการนำเรื่องดังกล่าวหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายกับสินค้าดังกล่าวต่อไป.
--จบ--
--เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ก.ย. 2560 (กรอบบ่าย)--