บิทคอยน์สกุลเงินดิจิทัล สวรรค์ของโลกอาชญากรรม
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ (Th)
Friday, February 02, 2018 06:00
15637 XTHAI XECON ECO ECON V%NETNEWS P%WSR
ในปัจจุบันไม่มีใครไม่รู้จัก โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือที่เรียกันกว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่ผู้ใช้งานระบบอินเตอร์เน็ต หรือ ระบบดิจิทัล คนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบคน รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อยนับพันคน ส่งผลให้โซเชียลเน็ตเวิร์ค มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในเกือบทุกด้าน
และเมื่อกลายเป็น สังคัมขนาดใหญ่ และเป็นส่วนหนึ่งในชิวิตคนเรา ทำให้โซเชียลเน็ตเวิร์คต้องพัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตจริงของมนุษย์ให้มากที่สุด เริ่มจากการสื่อสารโดยระบบ วีดีโอคอล (video call หรือการสนทนาแบบเห็นภาพ รวมไปถึงสถาบันการเงินที่ใช้ระบบ แอพพลิเคชั่น ในการฝาก-ถอน-โอน รวมทั้งชำระหนี้ต่างๆได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
ล่าสุด บิทคอยน์ (Bitcoin) เริ่มมีการนำมาใช้และเป็นที่นิยมในระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คด้วยเช่นกัน โดยคนไทยเริ่มรู้จักบิทคอยน์ ครั้งแรกจากการโจมตีทางไซเบอร์ขึ้นพร้อมกันทั่วโลก โดยต้นเหตุมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ วอนนาคราย ซึ่งจะส่งผลให้คอมพิวเตอร์เครื่องที่ถูกโจมตีไม่สามารถทำงานได้ โดยจะขึ้นตัวอักษรสีแดงเรียกร้องเงินค่าไถ่เป็น บิทคอยน์ สกุลเงินออนไลน์แบบเสรี ซึ่งไม่มีหน่วยงานใดสามารถตรวจสอบได้ มูลค่า 300 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 10,000 บาท โดยไวรัสดังกล่าวใช้ช่องโหว่ระบบการรักษาความปลอดภัยในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของไมโครซอฟต์ โจมตีทั่วโลกไปเมื่อเดือน พ.ค.60 ที่ผ่านมา
สำหรับ บิทคอยน์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีมาตั้งแต่ปี 2552 หรือ 8 ปีที่ผ่านมา เป็นสกุลเงินที่สมมติขึ้นมา(เสมือนจริง)ในรูปแบบ ดิจิทัล เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยไม่ขึ้นกับเงินสกุลอื่นๆ ไม่สามารถจับได้เหมือนธนบัตรทั่วไป มีหน่วยเงินตราเป็น BTC เหมือนกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ใช้หน่วยเงินตราเป็น USD สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นที่ใช้ JPY หรือสกุลเงินบาทไทยที่ใช้เป็น THB ซึ่งถือว่าเป็นเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Cryptocurrency) และยังมีสกลุเงินอื่น ๆ เช่น Ethereum ที่ใช้ตัวย่อว่า ETH หรือสกุลเงิน Ripple ใช้ตัวย่อว่า XRP และสกุลเงิน Litecoin ใช้ตัวย่อว่า LTC ปัจจุบันบิทคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงสุด
บิทคอยน์เกิดจากความต้องการระบบเงินใหม่ ที่ไม่ถูกตรวจสอบขึ้นมาจากเดิมมีธนาคารกลางเป็นผู้ดูแล กำหนดมาตรฐานมูลค่าของเงิน ทำธุรกรรมทางการเงินให้อยู่ในสายตาของธนาคารกลาง ซึ่งกระบวนการนี้ จะไม่ถูกใจพวกธุรกิจใต้ดิน เพราะต้องระบุตัวตน เวลาโอนเงินต้องผ่านตัวกลาง ทำให้ถูกตรวจสอบได้ง่าย หลายๆคนพยามสร้างสกุลเงินใหม่ที่ไม่ผ่านระบบธนาคารกลาง เป็นที่ยอมรับใช้กันอย่างแพร่หลาย มีโปรแกรมเมอร์ชาวญี่ปุ่นใช้นามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโต้ สร้างระบบที่เรียกว่า Blockchainเป็นระบบเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเงินเฟ้อและเสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็วของสกุลเงินดิจิทัล จากการปั๊มเงินออกมาได้ตามใจชอบ ระบบการทำงานของอัลกอริทึมกำหนดปริมาณเงินในระบบไว้ไม่ให้เกิน 21 ล้านหน่วย ทำให้บิทคอยน์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีระบบป้องกันเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ บิทคอยน์ ถูกดูแลภายใต้ระบบ Blockchain ที่ทำงานโดยอัลกอริทึม หรือที่เรียกว่า การขุดคอยน์ คล้ายกับการเข้าไปขุดทองในเหมือง แต่เปลี่ยนรูปแบบมาทำในระบบคอมพิวเตอร์แทน โดยนำคอมพิวเตอร์ของเราไปเป็นเซิร์ฟเวอร์ให้ระบบบิทคอยน์ใช้ในการเก็บธุรกรรมต่างๆ จะได้รับค่าตอบแทน คือ เงินบิทคอยน์ แต่ค่าตอบแทนจะต้องแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อแข่งกับคนอื่น ถ้าทำสำเร็จก็จะเป็นเจ้าของบิทคอยน์ที่เกิดขึ้นมาใหม่จากการขุด
ตอนนี้ความนิยมในสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์สูงขึ้นมาก แต่ธนาคารยังไม่มีกฎหมายอะไรออกมารองรับการลงทุน ซื้อ-ขายสกุลเงินนี้ เพราะบิทคอยน์ ไม่ใช่เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไทย ส่วนจะทำให้บิทคอยน์ถูกกฎหมายอยู่ระหว่างศึกษาข้อดีข้อเสีย โดยล่าสุดกระทรวงการคลังออกมาเตือนให้ประชาชน ระวังการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา จะไม่ได้รับการดูแล และสถาบันการเงินในไทยยังไม่มีสถาบันการเงินแห่งไหน เปิดให้ประชาชนทั่วไปซื้อ-ขายสกุลเงินดิจิทัลได้อย่างถูกกฎหมาย จะมีก็แต่การเข้าไปศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงินเท่านั้น แต่ก็มีหลายประเทศที่ยอมรับบิทคอยน์อย่างถูกกฎหมาย ในประเทศในทวีปยุโรปเช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น และผู้ประกอบการหลายรายที่ยอมรับการชำระสินค้าเป็นเงินสกุลบิทคอยน์ เช่น Dell, Expedia, Greenpeace และ Wikipedia
โดย พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบช.ทท. ได้เปิดเผยถึงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่พัฒนานำเงินของผู้เสียหายเข้าสู่ระบบบิทคอยน์ จำนวนกว่า 20 ล้าน พร้อมจัดประชุมหารือกับกลุ่มบริษัททางการเงินที่กำกับดูแลสกุลเงินบิทคอยน์ 5 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท บิทคอยน์ จำกัด ตัวแทน บริษัท บิทคอยน์ ทีเอช จำกัด ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบพบว่ามีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมให้ความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นอย่างดี ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ประสานขอข้อมูลบัญชีบิทคอยน์จากกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกรรมเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล หรือ บิทคอยน์ เพื่อใช้ในการสืบสวน
จากการตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 8 ธ.ค.60 จนถึงปัจจุปัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์กว่าร้อยละ 90 มีการนำเงินของผู้เสียหายเข้าสู่ระบบบิดคอยน์มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบและทราบเส้นทางการเงินของแก๊งคอลเซ็นเตอร์แล้ว และส่งชุดสืบสวนติดตามเทคโนโลยีของกลุ่มคนร้าย แม้ว่าการทำธุรกรรมผ่านระบบบิทคอยน์ไม่สามารถเอาผิดตามกฎหมายของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ได้ เนื่องจากบิทคอยน์ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ ปปง.ต้องรอให้เกิดมีการฟอกเงินเขึ้น จึงจะสามารถเข้าไปดำเนินการเอาผิดได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมาย เพื่อบังคับใช้ให้บิดคอยน์เข้าสู่ระบบเหมือนสถาบันการเงินเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้สะดวกรวดเร็ว และเตรียมทำ เอ็มโอยู ร่วมกันเพื่อหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขดังกล่าว
พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า ตามนโยบายของรัฐบาลมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการปราบปรามกลุ่มองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติการณ์ใช้โทรศัพหลอกลวงประชาชน โดยแสดงตนเป็นคนอื่นหรือกลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีวิธีการใช้โทรศัพท์หลอกลวงประชาชนทั่วไปโดยโทรศัพท์จากต่างประเทศ มาหลอกลวงประชาชนในประเทศไทยและมีผู้หลงเชื่อจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาการสูญเสียทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก
ด้วยความห่วงใย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง "ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์" สำนักงานแห่งชาติ(ศป.ฉปทน.) โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.เป็น ผอ.ศูนย์และ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบช.ทท. ควบคุมกำกับชุดปฏิบัติการประจำศูนย์ ดำเนินการปราบปรามทลายเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติอย่างจริงจังและต่อเนื่องและประชุมหารือกับกลุ่มบริษัททางการเงินที่กำกับดูแลสกุลเงินบิทคอยน์ 5 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท บิทคอยน์ จำกัด ตัวแทน บริษัท บิทคอยน์ ทีเอช จำกัด เน้นในเรื่องของความร่วมมือเป็นหลักโดยเฉพาะสถาบันการเงินในรูปแบบดิจิตอลหรือสกุลเงินบิทคอยน์ ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่รับรองจากทางธนาคารกลาง ส่วนเรื่องของการแลกเปลี่ยนเงิน ได้มีการดำเนินการอยู่แล้วขณะนี้ในเรื่องของการเสียหายของประชาชน มีมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก เงินจำนวนดังกล่าวได้ถูกโอนเข้าไปยังบิทคอยน์ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบที่ไปที่มาของเงินได้
สำหรับมาตรการในการควบคุมธุรกรรมประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินเข้าบัญชี Bank ต่างๆ แวะผ่านไปยังบริษัทบิทคอยน์ เสียหายไปแล้ 20 กว่าล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ ทางคณะทำงานจะได้วางเป็นระเบียบข้อบังคับ ร่วมกันอีกครั้งซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับมาตรการระยะสั้นและมาตรการเร่งด่วน ซึ่งทางเรารอไม่ได้เพราะว่าความเดือดร้อนของประชาชนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่มีการดำเนินการควบคุมประชาชนก็จะเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น
ฝากถึงผู้ที่ลงทุนหรือซื้อบิทคอยน์ ขอให้มีความระมัดระวังและควรตรวจสอบเนื่องจากว่ามีการลงทุน ของเงินสกุลดิจิตอล ส่วบริษัทบิทคอยน์ ที่เข้ามาก่อสร้างและจดทะเบียนการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ในประเทศไทยอย่างถูกต้อง มีวัตถุประสงค์ที่ดีและเจตนาดีต่อสังคม แต่คนร้ายอาศัยช่องว่าง และโอกาสในการก่ออาชญากรรม พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ กล่าว
ที่มา: www.siamrath.co.th