ค้นหา :
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
หน้าแรก
เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข้อมูลการประชุม
ข้อมูลเผยแพร่
ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสารบ้านเมือง
ข่าววิทยุรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ของที่ระลึก
แผนผังเว็บไซต์
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
   
ติดต่อ Call Center
ติดต่อ Call Center
รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ๒๕๕๗
ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๕๕๗ (ฉบับแก้ไข ๒๕๕๘)
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
คลิกเข้าสู่เว็บไซต์รับฟังความคิดเห็น
คลิกเพื่อรับชมการถ่ายทอดสดฯ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)

Untitled Document
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
กมธ.ปฏิรูปด้านสังคมฯ แถลงข่าวถึงผลการประชุมของคณะกรรมาธิการ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันจันทร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายอำพล จินดาวัฒนะ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปด้านสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส และคณะ ร่วมกันแถลงข่าวผลการประชุมของคณะกรรมาธิการ จำนวน ๕ ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งได้พิจารณาประเด็นสำคัญที่เตรียมจะเสนอให้บรรจุในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จำนวน ๗ ประเด็น ดังนี้

๑. เสนอให้ขยายขอบเขตความคุ้มครองของรัฐธรรมนูญไปถึง “มนุษย์ทุกคนที่มีลมหายใจอยู่บนผืนแผ่นดินไทย” ไม่เฉพาะประชาชนไทยเท่านั้น ผู้คนหลายกลุ่มจะได้ไม่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

๒. เสนอให้เขียนว่าในการจัดสรรบุคคลลงตำแหน่งต่างๆ ในกลไกของรัฐทุกระดับ ต้องมีสัดส่วนเพศตรงข้ามไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๑๐ เพื่อให้เกิดความเสมอภาค เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ

๓. เสนอให้เขียนเรื่องสิทธิชุมชนให้ชัดเจนในการกำหนดอนาคตตนเอง จัดการกันเอง ชุมชนสามารถเป็นนิติบุคคล ซึ่งรัฐต้องสนับสนุนให้จัดการกิจการสาธารณะได้เอง ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันเองได้ มีการสนับสนุนสัมมาชีพชุมชนที่เป็นจริง ให้สอดคล้องแนวคิด “ทุนสัมมา” คือทุนที่รับใช้สังคม มีกลไกสนับสนุนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง

๔. เสนอขยายสิทธิของประชาชน ได้แก่ สิทธิส่วนบุคคลในการได้รับการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย สิทธิของแรงงานให้สามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนในกิจการที่ตนทำงานอยู่ได้ สิทธิรวมตัวกันเป็นพื้นที่วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มตนได้ เป็นต้น โดยสิทธิดังกล่าวต้องกำหนดสิทธิในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ควบคู่ไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้มครองสิทธิเหล่านั้น

๕. เสนอให้มีการกำหนดหน้าที่ของพลเมืองว่า ทุกคนมีหน้าที่ในการร่วมพัฒนาประเทศชาติ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงามของชุมชนและของชาติ มีหน้าที่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของภาครัฐ โดยรัฐต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพการทำหน้าที่พลเมือง มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติ เสียสละ มีความเกื้อกูลแบ่งปันกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมพหุวัฒนธรรม และสามารถรวมตัวกันเป็นเครือข่าย “พลังพลเมือง” ได้อย่างหลากหลาย

๖. เสนอการกำหนดให้สถาบันครอบครัวมีหน้าที่พัฒนาสมาชิกในครอบครัวให้เป็นพลเมืองดี สร้างครอบครัวที่อบอุ่น พ่อและแม่มีสิทธิลาเพื่อดูแลบุตรในระยะเวลาที่เพียงพอ สร้างระบบและกลไกที่หนุนเสริมครอบครัวสามารถสร้างให้เด็กเกิดใหม่มีคุณภาพ ได้รับการคุ้มครองให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม และมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูเยียวยาในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว

๗. เสนอให้การจัดระบบและกลไกในการทำให้เกิดสังคมคุณธรรม มีความเกื้อกูลแบ่งปันกัน เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของผู้อื่น และมีมาตรการกำจัดการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกวงการอย่างเด็ดขาด

 

download download Download all images download