ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า
สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ
โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ
กรอบการดำเนินงานสปช.
(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)
วันศุกร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณหน้าห้องทำงานประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๑ นายวีรยุทธ เจริญกูล ผู้อำนวยการสำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือกราบเรียนประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากนางสาวสุรณี ผลทวี ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่อกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติลดทอนอำนาจของ กกต.ประกอบด้วย
๑.การให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) ทำหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งแทน โดยเห็นว่าการจัดการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้งควรมีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียว การแยกผู้ควบคุมการเลือกตั้ง กับผู้จัดการเลือกตั้งออกจากกัน ไม่ใช่หลักสากลที่นานาอารยประเทศยอมรับ และกว่าร้อยละ ๙๐ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก กำหนดให้ กกต.เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งทั้งระบบ
๒.กรณีให้ กกต.มีอำนาจเพียงสั่งเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) เฉพาะในช่วงก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง โดยให้การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัคร (ใบแดง) เป็นอำนาจของศาล นั้นเห็นว่าควรคงอำนาจใบเหลืองและใบแดง ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งไว้ที่ กกต.เนื่องจากการพิจารณาให้ใบแดงของศาลต้องใช้เวลา ทำให้เกิดช่องว่าง และผู้กระทำผิดสามารถเข้าไปทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ หรือด้านบริหารได้ ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัย และทำให้ผู้สมัครที่มีทุนมากกว่าได้เปรียบ เพราะพร้อมที่จะแข่งขันในการเลือกตั้งใหม่โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน
๓. การตัดอำนาจหน้าที่ของ กกต.ในการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานกับหน่วยราชการ ในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนนั้น เห็นว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากกระบวนการส่งเสริมและให้การศึกษา ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยและความเข้มแข็งของสังคม โดยปัญหาทางการเมืองของไทยส่วนหนึ่งมาจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง จำเป็นต้องมีการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นบทบาทหนึ่งของ กกต.ทุกประเทศทั่วโลก