ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า
สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ
โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ
กรอบการดำเนินงานสปช.
(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)
วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๒.๔๕ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ได้แถลงว่าที่ประชุมกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ได้มีการประชุมเพื่อเตรียมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๒๐ ๒๖ เมษายน นี้ว่าที่ประชุมได้มีมติให้กรรมาธิการจำนวน ๕ คน ประกอบด้วย นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการฯ นายดิเรก ถึงฝั่ง นายนิรันดร์ พันทรกิจ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช และนายนันทวัฒน์ บรมานันท์ เป็นผู้อภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ในนามตัวแทนของกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง โดยประธานกรรมาธิการฯ จะเป็นผู้อภิปรายในประเด็นโครงสร้างทางการเมือง และองค์กรอิสระ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๓๐ - ๔๕ นาที จากนั้นกรรมาธิการ อีก ๔ คน จะแบ่งกันอภิปราย รวมทั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองก็สามารถอภิปรายได้เช่นกัน ซึ่งกรอบของการอภิปรายจะได้คนละ ๑๒ นาที ทั้งนี้ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ยอมรับว่าการทำหน้าที่ของประธานในที่ประชุม ต้องมีเวลาเพียงพอเพื่อให้สมาชิกฯ อภิปรายได้อย่างเต็มที่และเกิดประสิทธิภาพ อาจมีการยืดหยุ่น การอภิปรายได้จนถึง เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา โดยขึ้นอยู่กับการอภิปรายในแต่ละวัน ส่วนเรื่องการได้มาของนายกรัฐมนตรีนั้นควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผ่านการเห็นชอบ โดยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด สำหรับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภานั้น ควรมีการเลือกตั้งโดยตรงจากจังหวัดๆ ละ ๑ คน และ อีก ๑๒๓ คน นั้นมาจากกลุ่มอาชีพ และผู้ที่มีความรู้ด้านต่างๆ
ทั้งนี้ แม่น้ำสองสาย คือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง แม้มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกันแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดให้มีความเชื่อมโยง และทำงานร่วมกันโดยถือเอาสิ่งที่ดีที่สุดไปกำหนดในรัฐธรรมนูญ สำหรับการอภิปรายของกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองจะอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ โดยเสนอแนวทางและให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ ที่มีเหตุและผลต่อกัน โดยไม่มีการขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ