ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า
สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ
โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ
กรอบการดำเนินงานสปช.
(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๒.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เอ ๒ ชั้น ๒๒ โรงแรมเซ็นทารา แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร นางสีลาภรณ์ บัวสาย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล และศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ สมาชิกสปช. ร่วมกันนำเสนอ เรื่อง "สานพลังขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศสู่อนาคต" โดยนางสีลาภรณ์ ได้กล่าวถึงเป้าหมายการปฏิรูปประเทศสู่อนาคต พ.ศ. ๒๕๗๕ คือประเทศไทยจะมีระบบการเมืองที่เปิดกว้างไม่ผูกขาด การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งประเทศจะต้องมีผู้นำที่ดีและเก่ง ส่วนด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางสู่สุวรรณภูมิอาเซียน สำหรับด้านสังคมจะมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ให้มากขึ้น ในด้านสิ่งแวดล้อมจะเพิ่มพื้นที่ป่าให้มากขึ้น ตลอดจนระบบการจัดการน้ำ ส่วนระบบการจัดการภาครัฐนั้นจะเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ การกระจายอำนาจและการสร้างความเข้มแข็งภาคพลเมือง โดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้มีการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ส่วนด้านการกระจายอำนาจเป็นการกระจายอำนาจหน้าที่ให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น มีการตรวจสอบการทำงานให้ได้มาตรฐานตลอดจนตรวจสอบการพัฒนากำลังคนของหน่วยงานภาครัฐให้มีความเข้มแข็ง มีการจัดระบบสวัสดิการ ระบบสาธารณสุข รวมทั้งการพัฒนาอาชีพบนฐานของทรัพยากร สังคม และทุนนิยม
นายกอบศักดิ์ ได้กล่าวถึงการปฏิรูปกฎหมาย มีการบังคับใช้กฎหมายสำหรับโครงสร้างคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าให้กระทัดรัด ตลอดจนดำเนินคดีและลงโทษให้เหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันทีเสรีและเป็นธรรม ทำให้ผู้บริโภค มีทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่การยกระดับที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งต้องมีการปฏิรูปภาครัฐวิสาหกิจ ให้เป็นระบบ โปร่งใส และสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการปฏิรูปสหกรณ์ออมทรัพย์ ตลอดจนการรวมศูนย์การกำกับดูแล การแทรกแซงทางการเมืองและระบบประกันสุขภาพด้วย
ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ กล่าวว่า การปรับกลไกภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ เป็นการร่างกฎหมายโดยพัฒนาให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มีการประเมินผลกฎหมายอย่างเป็นระบบ โดยกลไกภาครัฐต้องมีส่วนในการช่วยเหลือ เช่น ภาคการเกษตร การศึกษา พลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป้าหมายในการปฏิรูปโครงสร้าง มาตรฐานความปลอดภัย และการพัฒนาระบบสินค้า รวมทั้งกลไกต่างๆ ด้วย การส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรนั้น ต้องสร้างการประกันภัย เพื่อลดต้นทุนการเกษตร รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าการเกษตร สำหรับด้านการพลังงาน เป็นกลไกสำคัญในการกำหนดพลังงาน โดยการตั้งกองทุนพลังงาน และกำหนดกิจการพลังงานทั่วประเทศ มีเป้าหมายให้มีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอและมีความมั่นคงในอาเซียน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลข่าวสาร การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางการเกษตร ซึ่งการประชาสัมพันธ์บทบาทภาครัฐให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง