วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 นาฬิกา ณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตวิทยาเขตร่มเกล้า กรุงเทพฯ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ครั้งที่ 5 กล่าวต้อนรับ โดย ดร.วัลลภ สุวรรณดี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยมี นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินฯ และประธานมูลนิธิกู้ภัยร่มไทร กล่าวรายงาน
ทั้งนี้ ผู้แทนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ผู้แทนมูลนิธิกู้ภัยร่มไทร ผู้แทนกรรมการผู้จัดการ บริษัทกลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต อธิบดีกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารมูลนิธิ และคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมในพิธีเปิด
โอกาสนี้ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กล่าวใจความว่า รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ การแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติขององค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ครั้งที่ 5 ในวันนี้ ตนดีใจที่ได้มาอยู่ท่ามกลางผู้มีจิตใจที่ดีงาม เป็นผู้ที่มีความปรารถนาจะทำความดีทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์ ด้วยความเต็มใจ สมัครใจ ไม่หวังผลตอบแทนแต่อย่างใดและพร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อประโยชน์สาธารณะและผู้อื่น และไม่นิ่งดูดายเมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คนเป็นจิตที่ดี โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 66 ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง หมดสติในการประชุมร่วมกันรัฐสภา ได้มีทีมแพทย์และพยาบาลเข้าช่วยเหลือ มีความพร้อมด้านเครื่องมืออุปกรณ์ในการช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ ตนทราบจากรายงานประจำปี 2565 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติว่าประเทศไทยมีหน่วยปฏิบัติการแพทย์มากถึง 7,838 แห่งและหน่วยปฏิบัติการอำนวยการ 82 แห่ง มีบุคลากรผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน 119,351 ราย อันเป็นความก้าวหน้าในวงการการแพทย์ฉุกเฉินของภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งผมเห็นว่าบุคลากรเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉิน มีบทบาทและความสำคัญในการช่วยเหลือ สร้างความเข้มแข็งให้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ ช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขโดยไม่เลือกปฏิบัติ เกิดความเชื่อมั่นในการรับบริการผลประโยชน์ตอบแทนท่านทั้งหลายมาด้วยอุดมการณ์ของจิตอาสา สมัครใจ เสียสละ โดยไม่หวังมีเหตุการณ์กู้ชีพ กู้ภัย หลายครั้งของประเทศ เราได้พบเห็นการช่วยเหลือจากคนเหล่านี้ แสดงถึงศักยภาพของทีมอาสาที่มีผลสำคัญต่อการช่วยเหลือและดูแลผู้บาดเจ็บผู้ป่วยฉุกเฉิน ทั้งในแง่การช่วยชีวิต ลดอัตราการสูญเสีย การจำกัดความพิการจนเป็นที่ยอมรับของสังคม ทั้งนี้ แม้ว่างานอาสาจะเกิดจากความสมัครใจ แต่ทุกคนก็ต้องประพฤติตนให้อยู่ในกฎเกณฑ์ระเบียบและข้อบังคับของหน่วยงานในสังกัดอย่างเคร่งครัด มีวินัยไม่ประมาท ต้องรู้จักขวนขวายหาความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือ
นอกจากนี้ การสื่อสารที่สร้างสรรค์ก็เป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความเข้าใจความรัก ความสามัคคีปรองดอง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันโดยปราศจากความขัดแย้งเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ขอให้ทุกท่านไม่ว่าจะอยู่ในมูลนิธิ หรือสมาคมใด ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ จงภูมิใจว่าท่านเป็นผู้ที่มีเกียรติ เพราะได้ทำความดี ได้ช่วยเหลือผู้คน ช่วยเหลือสังคม ขอขอบคุณสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่ได้ริเริ่มผลักดันการพัฒนาศักยภาพ และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อีกทั้งเป็นแกนหลักในการรวมพลังองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรทั้งมูลนิธิ สมาคม ทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ และผู้ปฏิบัติงานกู้ชีพ กู้ภัย ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตที่ให้ความอนุเคราะห์เอื้อเพื่อสถานที่ในการจัดงาน ขอขอบคุณมูลนิธิกู้ภัยร่มไทรที่รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน "รวมพลังกู้ชีพ กู้ภัย จิตอาสาไทย ใจหนึ่งเดียว" ในครั้งนี้ และที่สำคัญคือหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ส่งอาสากู้ชีพ กู้ภัย เข้าร่วมงานทุกท่าน ซึ่งทุกภาคส่วน ล้วนมีความสำคัญที่ทำให้งานในวันนี้ เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์มีคุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องอาสากู้ชีพ กู้ภัย ในการได้เพิ่มพูนทักษะเพื่อเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนต่อไป ขอความตั้งใจดี จงเป็นพลังให้ทุกท่านมีกำลังกาย กำลังใจที่เข้มแข็ง ร่วมกับสร้างระบบการแพทย์ฉุกเฉินไทยให้พัฒนาไปสู่มาตรฐานในระดับสากล สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของชุมชนและสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประเทศชาติสืบไป
จากนั้นประธานรัฐสภามอบโล่ประกาศเกียรติคุณผู้สนับสนุนการจัดงาน พร้อมทั้งมอบโล่รางวัลเกียรติคุณศูนย์การเรียนรู้ชุมชนด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และมอบ Spinal Board แก่ตัวแทนมูลนิธิ
ต่อจากนั้นเยี่ยมชมนิทรรศการภาคสนาม นวัตกรรมด้านกู้ชีพกู้ภัยจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ เกมชิงรางวัล การแข่งขัน High Quality CPR การแข่งขันเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากซากรถ การแข่งขันถอดหมวกนิรภัยแบบเต็มใบ และการออกร้านจำหน่ายอุปกรณ์กู้ชีพกู้ภัย
สำหรับการประชุมดังกล่าวจัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับ มูลนิธิกู้ภัยร่มไทร บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเพิ่มพูนความรู้ และศักยภาพของเครือข่ายองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรและเครือข่าย รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยกิจกรรมภายในงานภายใต้คำขวัญ "รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย จิตอาสาไทยใจหนึ่งเดียว" และมีการจัดกิจกรรมภาคสนาม นวัตกรรมด้านกู้ชีพกู้ภัย นิทรรศการจากหน่วยงานต่าง ๆ
|