FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวรัฐสภา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นการขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมาย จำนวน 2 ฉบับ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 31 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 11.00 น. ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นการขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมายจำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  เพื่อให้สิทธิผู้เสียหายในการฟ้องคดีได้เองในกรณีที่ ป.ป.ช. ไม่รับคำร้อง หรือ ป.ป.ช. สั่งว่าไม่มีมูล หรืออัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง เพื่อให้ผู้เสียหายนำคดีขึ้นสู่ศาล เพื่อแสวงหาความยุติธรรม ทำให้กระบวนการยุติธรรมคุ้มครองผู้เสียหาย และ 2. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่..) พ.ศ. ....  จากนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.พรรคเพื่อไทย และรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายชลน่าน ศรีแก้ว สส.พรรคเพื่อไทย และอดีตหัวหน้าพรรค  

สำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  หลักการคือ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ดังนี้
(1) กำหนดให้สิทธิผู้เสียหายมีสิทธิยื่นฟ้องคดีได้เองในกรณี ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณา (เพิ่มความเป็นมาตรา 49/1)
(2) กำหนดให้เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลให้สำนักงาน ป.ป.ช. ส่งรายงานและสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณา หากอัยการสูงสุดเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีมูลความผิดอาญาให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ หากเห็นว่าคดีไม่มีมูลก็ให้ส่งยุติเรื่อง โดยคดีที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องดังกล่าว ให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ แต่หากอัยการสูงสุดเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลความผิดอาญาและสั่งให้ยุติเรื่อง ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีได้เอง ซึ่งการฟ้องคดีของผู้เสียหายรวมถึงกรณีที่อัยการสูงสุดไม่ยื่นฟ้องคดีและคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่ฟ้องคดีเองตามมาตรา 77 ด้วย และกำหนดให้การฟ้องคดีของอัยการสูงสุดและผู้เสียหาย หากผู้กระทำความผิดเป็นทหารร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ฟ้องรวมไปในคดีเดียวกัน ความผิดที่ฟ้องนอกจากความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วให้รวมถึงความผิดที่เกี่ยวข้องด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 58)
(3) กำหนดบทเฉพาะกาลให้เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดให้ดำเนินการตามมาตรา 58 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ได้ให้สำนักงาน ป.ป.ช. ส่งรายงานและเอกสารรวมถึงความเห็นคณะกรรมการ ป.ป.ช. มายังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการตามมาตรา 58 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ป. นี้ (ร่างมาตรา 6)  โดยที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้ให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและดำเนินคดีความผิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ ซึ่งการกระทำความผิดที่อยู่ในอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และความผิดที่เกี่ยวข้องดังกล่าวอาจมีผู้เสียหายจากการกระทำความผิดดังกล่าวด้วย โดยมิใช่เป็นความเสียหายแก่รัฐเท่านั้น แต่กฎหมายมิได้ให้สิทธิผู้เสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดไว้เลย ทั้งๆ ที่หลักการสำคัญของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีได้เอง เหตุนี้

เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาหรือได้มีมติว่าข้อกล่าวหใดไม่มีมูลก็จะทำให้ผู้เสียหายไม่มีสิทธิในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และการที่กฎหมายกำหนดให้เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าไม่มีมูลต้องยุติไปในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยที่ไม่มีองค์กรอื่นตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจทำให้เรื่องกล่าวหาดังกล่าวไม่ได้รับการตรวจสอบดำเนินการให้ครบถ้วนรอบด้าน เป็นเหตุให้ผู้กระทำความผิดที่มีอิทธิพลทางการเมืองอาศัยช่องทางดังกล่าว ทำให้เรื่องกล่าวของตนยุติลงในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ หรือแม้เรื่องจะได้ส่งไปให้อัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่ยื่นฟ้องคดีต่อผู้ต้องหาและคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็มิได้ยื่นฟ้องคดีเองตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ต้องหาก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีได้เอง ดังนั้น จึงสมควรให้สิทธิแก่ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีเองในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณา หรือเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ซ. มีมติว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูลก็ต้องส่งรายงานพร้อมความเห็นให้อัยการสูงสุดได้พิจารณาอันเป็นการสร้างระบบตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กรอันจะทำให้การพิจารณาเรื่องดังกล่าวมีความรอบคอบยิ่งขึ้น หากอัยการสูงสุดเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีมูลความผิดก็สามารถส่งฟ้องได้เอง โดยการฟ้องคดีอาญาของอัยการสูงสุดทั้งกรณีตามมาตรา 77 และตามมาตรา 58 ที่แก้ไขเพิ่มเติมควรให้สิทธิผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก็ได้ เพื่อจะได้ใช้สิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายกับผู้กระทำความผิดได้ด้วย แต่หากอัยการสูงสุดไม่ยื่นฟ้องคดีและคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็มิได้ยื่นฟ้องคดีด้วยก็ควรให้สิทธิผู้เสียหายได้ฟ้องคดีได้ด้วยตนเอง การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวนอกจากเป็นการสร้างระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว ยังเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายโดยตรงด้วย อันเป็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ป. นี้

สำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... มีหลักการคือ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยกำหนดให้ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ (เพิ่มบทนิยาม "ผู้เสียหาย" ในมาตรา 4 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 23 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 28 ) โดยที่ พ.ร.ป ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มีบทบัญญัติรองรับการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561  ซึ่งขณะนี้ได้มีการยื่นร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่..) พ..ศ. .... เพื่อให้อำนาจผู้เสียหายฟ้องคดีได้เองในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้พิจารณาหรือกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนแล้วเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล และกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ส่งฟ้องผู้ถูกกล่าว ซึ่งตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังไม่มีบทบัญญัติรองรับการฟ้องคดีของผู้เสียหาย จึงต้องมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจผู้เสียหายฟ้องคดีไว้ด้วย โดยให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ป. นี้

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats