กรมการขนส่งฯ เผยแท็กซี่ถูกร้องเรียนการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะมากสุด
Source - MGR Online (Th)
Wednesday, March 21, 2018 12:25
49923 XTHAI XOTHER XGEN V%WIREL P%ASMO
กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--ASTVผู้จัดการออนไลน์
นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยสถิติการร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ผ่านศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน 1584 ทั้งสายด่วน โทร.1584 เฟซบุ๊ก อีเมล และแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 61 (ต.ค.60-ก.พ.61) เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ได้รับร้องเรียน 33,616 เรื่อง แก้ไขจนได้ข้อยุติแล้ว 31,280 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 93.05 ส่วนที่เหลือ 2,336 เรื่อง กำลังเร่งติดตามตัวผู้ถูกร้องเรียนมาสอบสวน เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปสำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่ รถแท็กซี่ ได้รับร้องเรียน 17,794 เรื่อง โดยเรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ และขับรถประมาทหวาดเสียว รองลงมา รถจักรยานยนต์รับจ้าง 638 เรื่อง ซึ่งเรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ขับประมาทหวาดเสียว เรียกเก็บค่าโดยสารเกินจากอัตราที่ทางราชการกำหนด และแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ รถสามล้อรับจ้าง (รถตุ๊กตุ๊ก) 136 เรื่อง เรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร อุปกรณ์ส่วนควบไม่มั่นคงแข็งแรง และขับประมาทหวาดเสียว และรถสี่ล้อเล็กรับจ้าง 54 เรื่อง ซึ่งเรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ขับประมาทหวาดเสียว แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ และจอดรถขวางทางจราจรหรือขวางป้ายหยุดรถส่วนรถโดยสารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พบว่า รถเมล์ร่วมบริการ ขสมก. ได้รับร้องเรียน 1,565 เรื่อง เรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ขับประมาทหวาดเสียว ไม่หยุดรับส่งผู้โดยสารที่ป้าย และแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ รถตู้โดยสาร 993 เรื่อง ซึ่งเรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ขับประมาทหวาดเสียว แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ และบรรทุกผู้โดยสารเกินที่นั่ง รถ บขส. และรถเอกชนร่วมบริการ 950 เรื่อง โดยเรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ขับประมาทหวาดเสียว แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ ไม่หยุดรับส่งผู้โดยสารที่ป้าย และให้ผู้โดยสารลงก่อนถึงจุดหมายปลายทาง รถ ขสมก. 784 เรื่อง ซึ่งเรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ขับประมาทหวาดเสียว ไม่หยุดรับส่งผู้โดยสารที่ป้าย และแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพนายสนิท กล่าวด้วยว่า กรมการขนส่งทางบกขอเตือนผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท ห้ามฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสารเด็ดขาด โดยได้สั่งกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเข้มข้นตามมาตรการตรวจสอบการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ หากพบการกระทำความผิด โดยเฉพาะความผิดที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ให้ดำเนินการลงโทษตามกฎหมายขั้นสูงสุดทุกกรณีทั้งนี้ หากประชาชนพบปัญหาจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ สามารถร้องเรียนผ่านช่องทางที่กรมการขนส่งทางบก กำหนดได้ทันที ซึ่งหากทราบรายละเอียดรถ และผู้ขับรถคันที่กระทำความผิด เช่น หมายเลขทะเบียนรถ ชื่อ-นามสกุลผู้ขับรถ วันเวลาสถานที่เกิดเหตุ จะทำให้การติดตามแก้ไขประเด็นร้องเรียนเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น--จบ--