ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ยุทธศาสตร์ของไทยและบทบาทของรัฐสภา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 21 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 08.45 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา B1-1 ชั้น B1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ยุทธศาสตร์ของไทยและบทบาทของรัฐสภา" ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายศราวุธ เพชรพนมพร ประธานคณะ กมธ.การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวรายงาน ในการนี้ คณะ กมธ.การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยผู้บริหารจากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมพิธีเปิด

โอกาสนี้ นายชวน หลีกภัย กล่าวว่า มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนาในวันนี้ โดยขอชื่นชมและขอบคุณคณะผู้จัดที่ดาริให้มีจัดการสัมมนาเรื่องนี้ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยและบทบาทของรัฐสภาในประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญยิ่งทั้งต่อประเทศไทยและประชาคมโลกโดยรวม จากสถานการณ์ผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มนำไปสู่ระดับวิกฤตหากไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ประชาคมโลก และประเทศต่าง ๆ เกิดความตื่นตัวอย่างกว้างขวาง มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนาประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ มีการประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ขณะเดียวกัน ประเทศเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ประเทศในโลกที่กำลังเผชิญกับปัญหาฝุ่นเล็กจิ๋วที่เรียกว่า PM 2.5 ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพอย่างมหาศาล โดยปัญหานี้เริ่มรุนแรงขึ้นมาในประเทศไทยเมื่อประมาณปี 2561 และต่อเนื่องกันมาทุกปี ซึ่งฝุ่น PM 2.5 นั้นมาจากหลายแหล่งกำเนิด และถือว่าเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สมควรได้รับความสนใจเช่นเดียวกัน โดยประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาด้านนี้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส และกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายของประเทศในเรื่องนี้ไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศหลายด้าน รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เนื่องจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เป็นประเด็นเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่มีความเกี่ยวโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกหลายมิติ ทั้งในเรื่องการค้าและการลงทุน ภาคการผลิตอุตสาหกรรม นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกติการะหว่างประเทศ ความมั่นคงทางอาหาร น้ำ พลังงาน และอื่น ๆ ที่เป็นความท้าทายต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และในส่วนของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการระบุยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดกลไกความร่วมมือการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ การกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด และการกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยให้เกิดความก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงต้องอาศัยการดำเนินงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และการมีส่วนร่วมจากภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม โดยสร้างความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ อาทิ ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามตัวแบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพ  เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และจำเป็นต้องมีการพัฒนามาตรการและกลไกสนับสนุนทั้งในด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สังคม รวมทั้งการป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือจากนโยบายที่กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว

ทั้งนี้ รัฐสภาจัดการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก หรือ APPF ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 26 - 29 ต.ค. 65 และมีหัวข้อสำคัญในการประชุมครั้งนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย โดยการสัมมนาวันนี้นับเป็นความร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา  สถาบันวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ภาคส่วนต่าง ๆ เห็นความสำคัญของเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และร่วมมือกันนำเสนอประเด็นสำคัญต่าง ๆ พร้อมแนวทางด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์และรอบด้าน ซึ่งทางรัฐสภาจะได้นำข้อเสนอแนะและสรุปผลการสัมมนาในวันนี้ ไปใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของรัฐสภา และคณะ กมธ. คณะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในมิติด้านการพัฒนากฎหมาย การพัฒนามาตรการ และเครื่องมือ เพื่อส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัว รวมทั้งการติดตามนโยบายและการดำเนินงานของรัฐบาล เพื่อร่วมผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นโอกาสต่อการเร่งรัดการปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ความร่วมมือหลายฝ่ายในวันนี้เป็นความไม่ดูดายต่อปัญหาของส่วนรวมของแต่ละฝ่าย แม้ว่าอาจจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของบางฝ่ายแต่การที่เราไม่ละเลยต่อปัญหาส่วนรวม สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทำสิ่งใดได้ก็เข้าไปร่วมทำ เหมือนกับที่สภาในขณะนี้ก็ไม่ดูดายในการกำหนดนโยบายเรื่องบ้านเมืองสุจริต โดยเชื่อมั่นว่าประเทศจะรุ่งเรือง ถ้าบ้านเมืองสุจริต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ดูดายเช่นเดียวกันกับคณะ กมธ.การต่างประเทศในวันนี้ที่ร่วมกับหลายฝ่ายปฏิบัติภารกิจของ กมธ. โดยการไม่ดูดายต่อปัญหาของส่วนรวม จึงขอขอบคุณทุกฝ่ายอีกครั้ง และขอให้การจัดสัมมนาในครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ

จากนั้น เป็นการกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์ระยะยาวการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำของประเทศไทย" โดย นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช  เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้แทน นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การกล่าวนำการเสวนาในหัวข้อ "การเข้าร่วมเป็นภาคีและการอนุวัติการตามพันธกรณีในความตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" โดย นายอนุสนธิ์ ชินวรรโณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติและกรรมการบริหารสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการกล่าวนำการเสวนาในหัวข้อ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความท้าทาย ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ" โดย นายเกียรติ สิทธีอมร รองประธานคณะ กมธ.การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร และอดีตประธานผู้แทนการค้าไทย

ต่อจากนั้น เป็นการกล่าวนำเสวนาเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงสภาภูมิอากาศ กับผลกระทบต่อสุขภาพ” โดย นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) และการอภิปรายในหัวข้อ "ร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย" ในประเด็นเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงเนื้อหาร่างกฎหมาย แนวทางการขับเคลื่อนร่างกฎหมาย และบทบาทและภารกิจของรัฐสภา โดยมีผู้อภิปรายนำ ประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายนิติพล ผิวเหมาะ โฆษกคณะ กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร และ น.ส.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินรายการโดย นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน และผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats