|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวรัฐสภา |
ประธานรัฐสภา กล่าวสุนทรพจน์ในโอกาส รำลึก 36 ปี ธรรมศาสตร์ รังสิต ณ อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 25 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.30 นาฬิกา ณ อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวสุนทรพจน์ในโอกาส รำลึก 36 ปี ธรรมศาสตร์ รังสิต
นายชวน หลีกภัย กล่าวสุนทรพจน์ในงานรำลึกว่า "ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน" นั้นเป็นสิ่งที่คุ้นตาและคุ้นหูชาวธรรมศาสตร์เป็นอย่างดี เพราะสื่อความหมายและปณิธานของมหาวิทยาลัยได้อย่างแจ่มชัดสอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่สถาปนาขึ้นตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 และมีความเกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมและเพื่อระบอบประชาธิปไตยของไทยเสมอมา คำขวัญที่ว่านี้มาจากการสรุปสาระสำคัญ จากข้อเขียนในตอนท้ายบทความดูนักศึกษา ม.ธ.ก. ด้วยแว่นข้าวของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ธรรมศาสตร์บัณฑิต ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2495หรือเมื่อ 70 ปีก่อนในบริบทของการต่อสู้เพื่อรักษา "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์" ไว้จากการคุกคามของผู้มีอำนาจในบ้านเมืองซึ่งมอง "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" เป็นศัตรูจนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติ ฉบับใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โดยเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรืออดีตในนามธรรมศาสตร์และการเมืองก่อตั้งขึ้นมาในเวลาใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2477 เจตนารมณ์ในการก่อตั้งเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยที่เน้นการเรียนการสอนเรื่องประชาธิปไตย เพื่อให้การศึกษา และสร้างความเข้าใจในระบอบการปกครองใหม่ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นก่อนหน้านี้เพียง 2 ปีแก่พลเมืองจำนวนมากผู้อยู่ในภาวะกระหายใคร่รู้ ดั่งปรัชญาของการตั้งมหาวิทยาลัยที่ปรากฏตามสุนทรพจน์ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่รายงานต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ดังนี้ ...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา... จากจุดกำเนิดดังกล่าวล่วงเป็นเวลากล่าว 89 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากที่มหาวิทยาลัยมี 5 คณะเมื่อปี พ.ศ. 2501 สมัยที่ตนเข้าเรียน ตอนนี้ขยายเป็น 17 คณะ เมื่อรวมกับหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนมีถึง 23 หน่วยงาน มีความหลากหลายในวิชาที่สอนทั้งด้านกลุ่มงานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ มีกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีหลักสูตรภาษาไทย อังกฤษนานาชาติ มีอาจารย์ประจำนับเป็นพัน ๆ คนถือว่าประสบความสำเร็จและความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ต้องชื่นชมท่านผู้บริหารที่ผ่านทุกท่านทุกรุ่นที่ได้พัฒนาธรรมศาสตร์ให้ยั่งยืนทุกมิติต่อเนื่องสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มุ่งดูแลสังคม ประชาชน ตลอดมา ห่วงเวลาในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2529 เป็นปีเริ่ม ยุครังสิต โดยก่อกำเนินจากศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สมัยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี ท่านเห็นว่าควรที่จะขยายการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ในชั้นปริญญาตรีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคม เช่นเดียวกับหลักสูตรทางสังคมศาสตร์ที่มีอยู่เดิม พื้นที่ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ซึ่งมีเนื้อที่อยู่ประมาณ 49 ไร่ ไม่เพียงพอต่อการขยายตัวทางวิชาการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยจึงเจรจาขอใช้ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม เนื้อที่ประมาณ 2,430 ไร่ ที่รังสิต เพื่อสนองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย เรียกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พร้อมกับการย้ายคณาจารย์ และนักศึกษามาเรียนในที่นี้ และให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไปเรียนรวมกันที่ศูนย์รังสิตเป็นปีแรก ถึงแม้จะมีการขยายการศึกษาออกไป
อย่างไรก็ตาม ความเป็นมาและจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของเราไม่เคยเปลี่ยนแปลง ณ วันนี้ธรรมศาสตร์รังสิตได้ก่อตั้งครบ 36 ปีเต็มซึ่งพัฒนาเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง งานในวันนี้จึงเป็นการรำลึกเพื่อเชื่อมต่อความสัมพันธ์ แบ่งปันประสบการณ์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ศูนย์รังสิตแห่งนี้ที่หลอมรวมจิตวิญญาณของพี่น้องชาวธรรมศาสตร์ เพื่อแตกหน่อ ต่อยอด ยั่งยืน เจริญก้าว ตลอดไป เนื่องในโอกาสนี้ สิ่งหนึ่งที่ตนภาคภูมิใจคือการที่พี่น้องชาวธรรมศาสตร์รักษาไว้ตลอดมาคือการปลูกฝังให้นักศึกษามีความผูกพันกับประเทศชาติและประชาชนเชื่อมั่นในแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและเที่ยงธรรม ระลึกถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนไว้เป็นที่ตั้งเสมอดั่งปรัชญาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอย่าแท้จริง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งอาคารเรียนที่สร้างขึ้นใหม่ อย่างอาคารวิศิษฎ์อักษร อาคารเรียน SC3 รวมถึงอาคารใหม่ล่าสุด "อาคารกิติยาคาร" ที่ได้ปรับปรุงจากยิมเนเซียม 2 ในพื้นที่เดียวกันยังมีโรงละครแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีลักษณะเป็น Black Box ส่วนแลนด์มาร์กอันดับต้น ๆ ของศูนย์รังสิตที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือ อุทยานการเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี และเร็ว ๆ นี้ ศูนย์รังสิตก็จะมี "สวนป๋วย" ซึ่งจะอยู่ติดกับอุทยานการเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี สถานที่พักผ่อนอันร่มรื่นแห่งใหม่สำหรับชาวรังสิตด้วย
จากนั้น เป็นการเสวนาศิษย์เก่าเล่าประสบการณ์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และความคิดเห็นและแบ่งปันของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการดังกล่าว จัดโดยสำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์ ร่วมกับ สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา และศิษย์เก่าธรรมศาสตร์รหัสปีเข้าศึกษา 2529 - 2533 จึงได้จัดโครงการ "รวมพล 36 ปี ธรรมศาสตร์ รังสิต" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมต่อความสัมพันธ์รวมถึงการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ผ่านพื้นที่กิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ และระดมทุนเพื่อจัดตั้งThammasat Social Enterprise กิจกรรมแห่งความยั่งยืนเพื่อความเท่าเทียม ตามเจตนารมย์ อ.ป๋วย ในงานดังกล่าวต่อไป
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|