หน้าหลัก
Untitled Document
  ค้นหา :
 
« มกราคม 2568 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

คลิกอ่านข่าววิทยุรัฐสภา

ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมคณะ ร่วมกันแถลงร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2559

วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่อง “ร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น” โดยได้กล่าวถึงการดำเนินงานของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ จนถึงวันนี้รวมแล้ว ๑๑๗ วัน หากไม่นับวันหยุดประมาณ ๔๐ วัน ก็จะเป็นวันทำงานจำนวน ๗๗ วัน ได้ร่างรัฐธรรมนูญที่มีจำนวน ๒๗๐ มาตรา ตั้งแต่บททั่วไปจนถึงบทเฉพาะกาล ซึ่งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ยึดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นแม่บท และเป็นกรอบในการทำงาน โดยได้กำหนดให้ระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะต้องรับฟังความคิดเห็นจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเวลาที่กำหนด ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายในทุกรูปแบบทางช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางไปรษณีย์ อีเมลล์ โซเชียลมีเดีย รวมทั้งคณะอนุกรรมการรับฟังและสรุปความคิดเห็นที่มีผู้เสนอแนะ ได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งที่ดำเนินการเองและไปรับฟังความคิดเห็นร่วมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยตั้งใจจะจัดทำหลักการให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนมกราคม  ซึ่งในระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญก็ได้รับความร่วมมือจากศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลในการสำรวจความเห็นประชาชนในประเด็นต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบเป็นเครื่องตัดสินใจ รวมทั้งยังรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งและได้สำรวจไปยังองค์กรต่าง ๆ ด้วย

ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้เน้นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง และทำให้การเมืองไม่ใช่เป็นที่ฟอกตัวของผู้ที่เคยกระทำความผิด โดยหากกระทำความผิดก็จะเข้าสู่วงการการเมืองไม่ได้

โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ในมาตรา ๓๕ (๓) (๔) และ (๘) ได้กำหนดกลไกที่สำคัญไว้ กล่าวคือ (๓) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกลไกในการกำกับและควบคุมให้การใช้อำนาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน (๔) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยวธรรมเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด และ (๘) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า และตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน โดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ  โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ใช้กลไกต่าง ๆ เหล่านี้มาบังคับใช้ด้วย ในส่วนกลไกการควบคุมการใช้อำนาจรัฐนั้น ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะต้องดำเนินการ สำหรับประเด็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงการเพิ่มอำนาจองค์กรอิสระและองค์กรอิสระไม่เชื่อมโยงประชาชนนั้น ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวว่าจริง ๆ แล้วไม่ได้เพิ่มอำนาจจากที่เคยมีอยู่เลยซึ่งอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระยังมีอยู่ตามเดิม เพียงแต่ได้กำหนดกระบวนการให้ชัดเจนว่าอย่างไรเป็นเรื่องทุจริต อย่างไรไม่สมควรทำ และกำหนดเรื่องมาตรฐานจริยธรรมว่าอย่างไรที่ฝ่าฝืนแล้วถือเป็นเรื่องร้ายแรง หากทำแล้วจะพ้นจากตำแหน่ง โดยในอดีตได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาด และในร่างรัฐธรรมนูญนี้ก็ได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเช่นกัน  ทั้งนี้องค์กรที่มาตรวจสอบจะต้องเป็นอิสระ ซึ่งในประเทศต่าง ๆ ในโลกก็ให้ศาลเป็นผู้ตัดสินและศาลก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชน เพราะฉะนั้นกลไกเหล่านี้ก็เป็นกลไกปกติที่สากลปฏิบัติและใช้กันมา  ในส่วนของหมวดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อาจรู้สึกได้ว่ามีจำนวนน้อยลง ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้น้อยลงแต่อย่างใด แต่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้เปลี่ยนเรื่องสิทธิและเสรีภาพที่สำคัญของประชาชนไปกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐ คือรัฐมีหน้าที่ในเรื่องต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น เช่น ประชาชนย่อมมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามที่กฎหมายกำหนด มาเปลี่ยนเป็นกำหนดให้ รัฐมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการ และต้องจัดให้ประชาชน เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวโดยสะดวกตามที่กฎหมายบัญญัติ (สิทธิมีส่วนร่วมของประชาชนเดิม และรัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง สำหรับกลไกการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีวัตถุประสงค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจัง และการกำหนดให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อมนั้น เพื่อเปิดให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริงโดยไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง  ทั้งนี้ ร่างรัฐธรรมนูญที่ได้เผยแพร่ในวันนี้นั้นยังไม่สมบูรณ์ โดยจะต้องรอรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับแก้ไขอีกครั้ง  โดยขอให้เสนอด้วยเหตุผลว่าแก้ไขเรื่องใดเพราะเหตุใด ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพร้อมรับฟังความคิดเห็น เพราะรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้นเพื่อประชาชนและผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้นจึงควรมุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ

download download Download all images download
ร้องเรียน / ร้องทุกข์ หนังสือและสื่อเผยแพร่ ติดต่อรัฐสภา