ปฏิรูปตำรวจ-กระจายอำนาจเปิดแจ้งความที่ไหนก็ได้
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th)

Wednesday, May 09, 2018  06:24
6632 XTHAI XPOL DAS V%PAPERL P%TSK

          "มีชัย" ลุยปฏิรูปตำรวจ อำนวยความสะดวกประชาชน เปิดแจ้งความที่ไหนก็ได้ ไม่จำกัดเฉพาะท้องที่เกิดเหตุ สั่งยุบทิ้ง "ตำรวจรถไฟ" นัดถก "ต.ม.จราจร" คิวต่อไป
          นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้าว่า ที่ผ่านมาเป็นการหารือกันในหลักการใกล้จบแล้ว จากนี้คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อพิจารณาแก้กฎหมายหลายฉบับ และร่างกฎหมายพิเศษขึ้นมา เบื้องต้นจะทำให้การสืบสวนสอบสวนเกิดความสะดวกรวดเร็ว ประชาชนใช้บริการได้ไม่ยุ่งยาก เช่น เดิมเหตุเกิดที่ไหนก็ต้องแจ้งความที่นั่น ก็แก้ให้แจ้งความที่ไหนก็ได้ ผู้รับแจ้งหากยุ่งยากก็ให้ส่งเรื่องไปโรงพักที่เกี่ยวข้อง ทั้งจะมีการลดภาระไม่จำเป็นของตำรวจ เช่น เวลาซิมหาย บัตรประชาชนหาย เอกสารสำคัญหาย ต้องแจ้งความ ก็ไม่ต้องแจ้งความแล้ว ให้ไปแจ้งกับหน่วยงานหรือส่วนที่เกี่ยวข้องเลย
          ส่วนการกระจายอำนาจ จะมองในแง่ให้ตำรวจทำงานได้ โดยไม่ต้องรอคำสั่งข้ามสายงานไปมา ให้แบ่งเป็นแท่ง เช่น ในแท่งสืบสวนสอบสวน อำนาจจะไม่ลดลง อาจมีการเพิ่มผู้ช่วยพนักงานสืบสวนสอบสวน หรือหากส่วนไหนเจ้าหน้าที่สามารถสืบสวนเบื้องต้นได้ก็ทำไป อะไรที่ปลีกย่อยจะให้ท้องถิ่นเป็นคนทำ เช่น จราจร ก็จะมีแผนกระจายเป็นระยะเปลี่ยนผ่านแล้วแต่ท้องถิ่นที่พร้อม โดยจะเริ่มจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ก่อน เพราะสามารถทำได้ทันที ส่วนเทศบาลนครใช้เวลา 2 ปี เทศบาลเมืองใช้เวลา 3 ปี ซึ่งการโอนจะทำในส่วนของภารกิจ ไม่ให้อัตรากำลัง หากใครอยากย้ายก็สามารถย้ายได้ ซึ่งในแง่งบประมาณก็ไม่ได้ลดลง อัตรากำลังยังต้องมีมาเสริม โดยเฉพาะพนักงานสอบสวนที่ยังขาดอีกมาก
          ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมการปฏิรูปกฎหมาย ในฐานะโฆษกกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ  เปิดเผยว่า ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมพิจารณาในประเด็นถ่ายโอนงานที่ไม่ใช่งานตำรวจแท้ออกไปให้องค์กรอื่นที่มีความพร้อม โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ งานจราจรทั่วประเทศ ตกลงในหลักการโดยภาพรวมดังนี้
          1. กำหนดให้งานจราจรทั้งหมด และการรักษาความสงบ ให้เป็นภารกิจของท้องถิ่นทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 10 ปี 2. งานตามข้อ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับจราจร 3 เรื่อง คือ งานอำนวยความสะดวกในการจราจร งานกวดขันวินัยจราจร และงานบังคับใช้กฎหมายจราจร เฉพาะความผิดฐานจอดรถโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ให้โอนให้ท้องถิ่นภายในระยะ เวลาดังนี้ สำหรับเมืองพิเศษอาทิ กทม. และเทศบาลนคร ให้โอนภายใน 2 ปี สำหรับเทศบาลเมือง ให้โอนภายใน 3 ปี ส่วน--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 - 12 พ.ค. 2561--