หน้าแรก
|
การรายงานตัว
|
ข้อมูลสำหรับสมาชิก
|
ข้อมูลเผยแพร่
|
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
|
ติดต่อเรา
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
ประธานคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษา และแก้ไขปัญหาช้างป่ารับยื่นหนังสือจากนายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 16 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
วันอังคารที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 13.20 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6 อาคารรัฐสภา นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ประธานคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษา และแก้ไขปัญหาช้างป่ารับยื่นหนังสือจากนายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เพื่อขออนุมัติให้ความช่วยเหลือนอกเหนือหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินของกระทรวงการคลังเฉพาะกรณีภัยจากช้างป่าด้านการเกษตร (ด้านพืช) ด้วยจังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่าจำนวนมาก ปัจจุบันมีช้างป่าในเขตป่าอนุรักษ์ประมาณ 400-500 ตัว และเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเพิ่มประชากรช้างป่าสูงที่สุดในประเทศไทย คือร้อยละ 8.2 ต่อปี จากข้อมูลการติดตามแก้ไขปัญหาข้างป่าและสัตว์ป่าที่สร้างผลกระทบต่อราษฎรพบว่าบริเวณที่ข้างป่าออกหากินในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี มีจำนวน 8 อำเภอ จาก 10 อำเภอ ข้างป่าเหล่านี้ได้ออกหากินนอกพื้นที่ป่า เนื่องจากในป่ามีอาหารไม่เพียงพอสำหรับช้างป่าที่เพิ่มมากขึ้น สร้างความเดือดร้อนกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นวงกว้าง สร้างความเสียหาย ทั้งด้านชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และพื้นที่ทางการเกษตรของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน ( 9 มีนาคม 2564 ) จังหวัดจันทบุรีได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัยอื่น ๆ (ภัยจากช้างป่า) ไปแล้ว 286 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 28 ราย บาดเจ็บ 33 ราย ที่อยู่อาศัยเสียหาย 24หลัง และมีพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบกว่า 3,600 ไร่ (ในปี พ.ศ. 2563 จังหวัดจันทบุรีได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ภัยจากช้างป่า ต้านเกษตร (ด้านพืช) เป็นจำนวนเงิน 175,245 บาท คิดเป็นพืชประมาณ 100 ไร่) ซึ่งประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ได้ร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารท้องถิ่น ท้องที่จังหวัด ไปจนถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาลให้แก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ จังหวัดจันทบุรี ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาตังกล่าว โดยได้ยกปัญหาช้างป่านี้ขึ้นเป็น "วาระของจังหวัด" เพื่อให้ทุกหน่วยงานร่วมบูรณาการในการแก้ไขปัญหา สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากช้างป่า ที่ช้างป่าได้บุกรุกเข้าทำลายพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎรเสียหาย จังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินของกระทรวงการคลัง และหลักเกณฑ์ปลีกย่อยของกระทรวงเกษตรฯ โดยให้ความช่วยเหลือเฉพาะในกรณีที่พืชตายโดยสิ้นเชิง เป็นข้าว ไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ ไร่ละ 1,149 บาท และพืชสวนและอื่น ๆ ไร่ละ 1,690 บาท ซึ่งเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ต่างมีความรู้สึกว่าการช่วยเหลือดังกล่าว ไม่เป็นธรรมกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่ช้างได้เข้าทำลายต้นพืช หรือกินพืชผลของเกษตรกร เนื่องจากพืชผลที่เสียหายล้วนแต่เป็นพืชผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย กล้วย เป็นต้น ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรกับช้างป่า และนำไปสู่การทำร้ายช้างจนตาย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ประกอบกับ รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาช้างป่า โดยได้มีหนังสือซักซ้อมแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากช้างป่า โดยแจ้งว่า หากมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินทดรองราชการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย นอกเหนือหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้เสนอเรื่องขออนุมัติปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์ไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโตยด่วน เพื่อส่งให้กระทวงการคลังพิจารณาก่อน และเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติแล้ว จังหวัดจึงจะสามารถจ่ายเงินทดรองราชการนอกเหนือหลักเกณฑ์ได้ จังหวัดจันทบุรีจึงได้พิจารณาอัตราการช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อเป็นการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยนำข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของพืชที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า และสำนักงานโครงการชลประทานจันทบุรี เกี่ยวกับการชดเขยค่าทดแทนต้นไม้ในพื้นที่ที่ถูกเวนคืนในเขตชลประทานเพื่อเสนอขออนุมัติปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์ จึงขออนุมัติใช้อัตราการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวข้างต้น เป็นอัตราการให้ความช่วยเหลือฯ กรณีภัยจากช้างป่า เป็นกรณีพิเศษ หรืออาจพิจารณาอัตราการให้ความช่วยเหลืออื่นตามความเหมาะสม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างเหมาะสม
Download all images
00:00
00:00
00:00
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ
Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา
ประกาศสำนักงาน
ขั้นตอนการรายงานตัว
สถานที่รับรายงานตัว
ขั้นตอนสำคัญหลังการรายงานตัว
พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา
รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งแรก
การเลือกประธานและรองประะธาน
การเลือกนายกรัฐมนตรี
การแถลงนโยบายต่อรัฐบาล
การแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ
รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ส.ส. ส.ว. กรรมาธิการ
บริการของสำนักงาน
E-Book
ผลการเลือกตั้ง
รายชื่อสมาชิกที่รายงานตัว
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
สำนักงานคณะกรรมการ ปปช.
สำนักงาน ปปง.
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศาลรัฐธรรมนูญ