หน้าแรก
|
การรายงานตัว
|
ข้อมูลสำหรับสมาชิก
|
ข้อมูลเผยแพร่
|
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
|
ติดต่อเรา
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... พร้อมด้วย นายแทนคุณ จิตต์อิสระ โฆษกคณะ กมธ. และคณะ แถลงข่าวผลการพิจารณาของคณะ กมธ.
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 21 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
วันพุธที่ 21 กันยายน 65 เวลา 11.45 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... พร้อมด้วย นายแทนคุณ จิตต์อิสระ โฆษกคณะ กมธ. และคณะ แถลงข่าวผลการพิจารณาของคณะ กมธ.ว่า ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... ได้มีการเพิ่มเติมบทเฉพาะกาลในมาตรา 47 ซึ่งเดิมทีมีแค่มาตรา 46 โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการทบทวนเพื่อแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ อย่างน้อย 70 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ทางกฎหมายของสามี ภรรยา หรือคู่สมรส เพื่อรองรับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายหรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมต่อเพศสภาพของคู่สมรสและคู่ชีวิต ภายในระยะเวลา 180 วัน หลังจากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ สำหรับข้อสังเกตและข้อกังวลว่า ความเป็นสามีและภรรยาจะหายไปหรือไม่นั้น ประเด็นนี้ยังไม่หายไปไหน แต่เป็นการเพิ่มเติมที่คู่ขนานไปกับความเป็นคู่สมรสแบบสามีภรรยา โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะเพศชายและหญิงเท่านั้น
ส่วนประเด็นที่คณะ กมธ.มีมติให้แก้ไขตามข้อห่วงใยของหลาย ๆ ฝ่าย โดยการแก้ไขจากบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นทุกเพศนั้น มีนัยสำคัญว่าไม่จำเป็นต้องกำหนดหรือกำกับว่าเป็นเพศหรือสภาวะใด ๆ ซึ่งคำว่าหลากหลายทางเพศยังถือว่ามีการระบุเพศอยู่ แต่ในปัจจุบันมีความลื่นไหลทางเพศและพลวัตทางสังคมได้ขยายไปสู่การที่ไม่จำเป็นต้องกำหนดเพศของตนเอง(Non-binary gender) หรือการที่ไม่มีเพศ (Asexuality) จึงนับว่าเป็นความทันสมัยและความก้าวหน้าที่คณะ กมธ.ได้พิจารณาและมีความเห็นว่าควรเปิดกว้าง
นอกจากนี้ หลาย ๆ ประเทศยังมีความสนใจและติดต่อสอบถามถึงความคืบหน้าในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ เช่น ประเทศสิงคโปร์ โดยหาก กฎหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของสภาและออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ ประเทศไทยจะถือเป็นประเทศแรกของเอเชียที่มีกฎหมายในลักษณะนี้ ส่วนมิติทางสังคมนั้น สังคมไทยถือว่าเปิดกว้างและยอมรับในมิติความหลากหลายทางเพศของคนทุกเพศมากยิ่งขึ้น แต่การจะแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ คณะ กมธ. ได้ทำงานอย่างหนัก เพื่อให้มีบทสรุปที่ลงตัวที่สุด ตลอดจนสอดคล้องกับบริบทและพลวัตทางสังคมไทย
Download all images
00:00
00:00
00:00
การรับรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แสดงทั้งหมด...
Untitled Document
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร :
0 2244 2500
e-Mail
: webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2562
หน้าแรก
สภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
สนง. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สนง.เลขาธิการวุฒิสภา
คณะกรรมาธิการ
ศูนย์ประชาคมอาเซียน
รัฐสภาระหว่างประเทศ
Inter Parliament Affairs
สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
เกี่ยวกับรัฐสภา
โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
สมัครงาน
ติดต่อเรา
ประกาศสำนักงาน
ขั้นตอนการรายงานตัว
สถานที่รับรายงานตัว
ขั้นตอนสำคัญหลังการรายงานตัว
พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา
รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งแรก
การเลือกประธานและรองประะธาน
การเลือกนายกรัฐมนตรี
การแถลงนโยบายต่อรัฐบาล
การแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ
รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ส.ส. ส.ว. กรรมาธิการ
บริการของสำนักงาน
E-Book
ผลการเลือกตั้ง
รายชื่อสมาชิกที่รายงานตัว
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
สำนักงานคณะกรรมการ ปปช.
สำนักงาน ปปง.
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศาลรัฐธรรมนูญ