คอลัมน์: ไขปัญหาผู้บริโภค: สคบ.ออกหลักเกณฑ์จัดการสินค้าอันตราย
Source - เดลินิวส์ (Th)

Saturday, September 02, 2017  02:03
47633 XTHAI DAS V%PAPERL P%DND

          โดย สคบ.
          E-Mail :
www.ocpb.go.th
          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะหน่วยงานกลางในการคุ้มครองผู้บริโภคได้เข้าร่วมเป็นตัวแทนประเทศไทยในคณะกรรมการว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคของอาเซียน (ACCP) เพื่อร่วมพิจารณากำหนดมาตรการ  และกลไกในการดำเนินงานการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี พ.ศ. 2558 ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามแดนได้อย่างเสรีมากขึ้นในระหว่างประเทศสมาชิก แม้จะมีผลดีต่อการค้าระหว่างประเทศ
          อย่างไรก็ตามแต่ก็ต้องมีมาตรการในการระมัดระวังสินค้าที่อาจจะก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยและเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้มีความพยายาม ที่จะปรับกฎระเบียบภายในให้มีความสอด คล้องกันและสร้างกลไกการดำเนินงาน ต่าง ๆ ร่วมกัน
          โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2556) ได้กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจดำเนินการ เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคโดยการออกคำสั่งห้ามขายการห้ามการบริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บ เรียกคืน แก้ ไข เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงสินค้าหรือบริการนั้น ไม่ให้เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค เปลี่ยนหรือชดใช้ราคาสินค้า จัดส่งสินค้ากลับคืน ออกนอกราชอาณาจักร ทำลายหรือให้ปิดประกาศแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายของสินค้าหรือบริการนั้นให้ผู้บริโภคทราบ
          ดังนั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้มีการออกประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคลงวันที่ 9 มิถุนายน 2560
          โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการผลิต สั่งหรือนำเข้าสินค้าที่ คคบ. มีคำสั่งห้ามขายแล้วนั้น ต้องมีการประกาศให้ผู้บริโภคทราบผ่านทางช่องทางที่มีการนำเสนอขายสินค้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นอันตราย และที่สำคัญต้องนำสินค้ามาคืนที่ร้านที่มีการจำหน่ายให้ชัดเจนด้วย
          ขณะเดียวกัน คคบ. ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแผนการดำเนินการกับสินค้า เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการเสนอแผนจัดการสินค้าต่ออนุกรรมการฯ เพื่อนำเสนอต่อ คคบ. พิจารณาออกคำสั่ง คคบ. ในการจัดเก็บ เรียกคืน แก้ไข เปลี่ยน แปลงหรือปรับปรุงสินค้าหรือบริการนั้น ไม่ให้เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค เปลี่ยนหรือชดใช้ราคาสินค้า จัดส่งสินค้ากลับคืน ออกนอกราชอาณาจักร ทำลายหรือให้ปิดประกาศแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายของสินค้าหรือบริการนั้นให้ผู้บริโภค เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยต่อสินค้า และเฝ้าระวังสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป.--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์