คอลัมน์: บทบรรณาธิการ: อย่ามองข้ามข้อเสนอสปท.
Source - แนวหน้า (Th)

Wednesday, September 20, 2017  08:05
57851 XTHAI XOTHER XCOMMENT XGEN DAS V%PAPERL P%NND

          คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 คณะที่จะ เข้ามาควบคุมและกำหนดทิศทางของประเทศตามโรดแมปแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เดินหน้าแล้วจากนี้ไปอีก 8 เดือนเป็นกรอบเวลาที่คณะกรรมการปฏิรูปแต่ละด้านต้องเร่งยกร่างแผนการปฏิรูปในด้านต่างๆ ก่อนนำมารวมกันเพื่อกำหนดเป็นแผนปฏิรูประดับชาติ รวมทั้งยังมี หน้าที่ติดตามการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่า
          ได้ปฏิบัติตามแผนปฏิรูปที่วางไว้หรือไม่เพื่อนำมาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไปที่น่าจับตามอง คือ ทิศทางการปฏิรูปด้านพลังงานที่ผ่านมามักจะประสบปัญหาถูกต่อต้านจากกลุ่มเอ็นจีโอจนแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต้องล่าช้า ทั้งการก่อสร้างเขื่อน สร้างโรงไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียม
          คณะกรรมการปฏิรูปด้านพลังงาน นายพรชัยรุจิประภา อดีตรมว.ไอซีที และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ส่วนกรรมการท่านอื่นมีประสบการณ์ ความสามารถเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณะมั่นใจได้ว่า สามารถเข้ามาวางรากฐานการปฏิรูปพลังงานได้อย่างเหมาะสมกับประเทศ
          คณะกรรมการปฏิรูปด้านพลังงานชุดนี้ ก็ไม่ถึงกับ ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่เพราะก่อนหน้านี้มีคณะกรรมการ ชุดอื่นๆ ได้เคยศึกษาแนวทางในการปฏิรูปด้านพลังงานมาแล้วมีผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน (สปท.) ชุดที่นายคุรุจิต นาครทรรพ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ที่เคยเสนอแนวทางปฏิรูปประเทศด้านพลังงานด้านต่างๆ ไว้ 17 ข้อ ต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติไปแล้ว
          โดยเฉพาะประเด็นผลการศึกษาที่ระบุถึง ต้นตอของความล่าช้าของโครงการด้านพลังงานที่สำคัญๆ หลายๆ โครงการที่เกิดจากการคัดค้านของเอ็นจีโอส่ง ผลเสียต่อการพัฒนาประเทศ พร้อมยกตัวอย่าง โครงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เพียงแค่โครงการเดียวที่ถูกต่อต้านจนล่าช้ามาถึง 10 ปี
          ทำให้มูลค่าการลงทุนเสียหายไปถึง 5 พันล้านบาทรวมถึงการจ้างงานถึง 200,000 อัตรา จนเป็นที่มาของ ข้อเสนอให้ตรวจสอบแหล่งเงินทุนของเอ็นจีโอและผลการ ดำเนินงานเพื่อความโปร่งใสพร้อมถอดบทเรียนจากการ เคลื่อนไหวขององค์เอ็นจีโอในต่างประเทศที่เข้าไปแทรกแซง กิจการในประเทศต่างๆ โดยเสนอให้ยกเลิกวีซ่าเข้าเมือง และใช้กฎหมายฟอกเงินดำเนินคดี หากพิสูจน์ได้ว่า มีการเคลื่อนไหวหรือดำเนินกิจการที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายต่อชาติในรอบปีนี้
          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ได้พูดถึงเอ็นจีโอถึง 5 ครั้ง เรียกร้อง ให้เอ็นจีโออย่าไปคิดอะไรแบบตกขอบมองข้ามส่วนรวมอย่าเป็นจระเข้ขวางคลอง ปิดหู ปิดตา คัดค้านตลอดเวลาประเด็นเหล่านี้คณะกรรมการปฎิรปประเทศด้านพลังงานต้องหาทางป้องกันและรับมือไว้แต่เนิ่นๆ จะได้ ไม่เสียเวลา ไม่เช่นนั้นแล้วอาจติดขัดในการปฏิรูปพลังงาน เหมือนในอดีตอีก--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า