คอลัมน์: ไขปัญหาผู้บริโภค: จับมือกระทรวงยุติธรรม คุ้มครองสิทธิประชาชน
Source - เดลินิวส์ (Th)

Friday, May 04, 2018  04:44
245 XTHAI XECON MIDD DAS V%PAPERL P%DND

          ปัจจุบันสถานการณ์การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เกิดจากผู้บริโภคขาดความรู้ทันของผู้ ประกอบธุรกิจที่ขาดจรรยาบรรณที่ใช้เทคนิคการสื่อสารทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นเครื่องมือกระทำความผิด แสวงประโยชน์จากช่องว่างในการดำเนินการระหว่างหน่วยงานของรัฐ ขณะที่สังคมยังขาดความตระหนักรู้จากการ ใช้สิทธิอันชอบธรรม ซึ่งสะท้อนได้จากสื่อ ต่าง ๆ เช่น ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการต่าง ๆ
          สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค หรือ สคบ. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ให้การคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนทั่วประเทศให้ได้รับความเป็นธรรมไม่ถูกละเมิดสิทธิจากผู้ประกอบธุรกิจ ในการดำเนินการ ดังกล่าวจึงจำเป็นต้องแสวงหาเครือข่ายเพื่อร่วมบูรณาการการทำงานเพื่อตอบสนอง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับประชาชนอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม
          การขับเคลื่อนการทำงานดังกล่าว สคบ.จึงได้บูรณาการร่วมกับกระทรวงยุติ ธรรมในการเชื่อมโยงข้อมูลและการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ให้มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อรับบริการได้สะดวก รวดเร็ว
          ผ่านการดำเนินงานของสำนักงานยุติ ธรรมจังหวัด โดยมีการให้บริการในรูปแบบศูนย์บริการร่วม (Service link) และ One Stop Service เพื่อให้บริการเสร็จสิ้นเบ็ดเสร็จใน จุดเดียว รวมถึงงานด้านคลินิกยุติธรรม ที่ให้บริการเกี่ยวกับการร้องทุกข์ การดำเนินการตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ การคุ้มครองพยาน การใช้ค่าตอบแทนให้ผู้เสียหาย และจำเลยในคดีอาญาและกองทุนยุติธรรมอีกด้วย
          เช่นเดียวกับการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลนอกจากจะช่วยยกระดับการให้บริการของภาครัฐในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วยัง ช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน เช่น ค่าถ่ายสำเนาเอกสารที่ใช้ขอรับบริการ ต่าง ๆ ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนของหน่วยงาน และยังจะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงานของรัฐจะร่วมมือกันพัฒนา และปรับปรุงระบบงานบริการของหน่วยงาน ผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบ Digital Government ภายใต้นโยบาย Digital Economy
          นอกจากนี้ สคบ. และกระทรวงยุติธรรม จะสร้างการรับรู้ ส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่มีบทบัญญัติในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขอบเขตการใช้สิทธิของประชาชนและผู้บริโภค การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ช่องทางการร้องเรียนไปยังหน่วยงานรัฐ และความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้แก่เครือข่ายยุติธรรมชุมชน เครือข่ายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนให้เครือข่ายดังกล่าวมีความรู้ในการปกป้อง คุ้มครอง และรักษาสิทธิของตน เองและบุคคลอื่น
          ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ เครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภค สามารถเข้าถึงสิทธิในการขอรับความช่วยเหลือตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนยุติธรรม.
--จบ--

          --เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 พ.ค. 2561 (กรอบบ่าย)--