ดีเอสไอจับมือ จ.สิงห์บุรี ลงนามข้อตกลงนำร่องเขตปลอดแชร์ลูกโซ่ 100%
Source - MGR Online (Th)

Tuesday, June 12, 2018  13:20
29068 XTHAI XOTHER XGEN V%WIREL P%ASMO

          กรุงเทพฯ--12 มิ.ย.--ASTVผู้จัดการออนไลน์

          พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับจังหวัดสิงห์บุรี โดยนายสุทธา สายวาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อผลักดันให้จังหวัดสิงห์บุรีจะเป็นจังหวัดนำร่องเขตปลอดแชร์ลูกโซ่ร้อยเปอร์เซนต์ในภาคกลางอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะบูรณาการการทำงานอย่างเป็นระบบทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ซึ่งได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมในการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบ โดยใช้กลไกคณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบ และอนุกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบในส่วนภูมิภาคในระดับจังหวัด เพื่อเฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแลไม่ให้เกิดการจัดเวทีหลอกลวงฉ้อโกงประชาชน และให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและผลตอบแทนที่ควรได้รับในการลงทุนปกติแก่ประชาชน โดยมีภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามาเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังแชร์ลูกโซ่เป็นการฉ้อโกงประชาชนที่หลอกลวงให้เหยื่อสมัครเป็นสมาชิกร่วมลงทุนในธุรกิจที่ไม่เน้นการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ แต่จะอ้างว่ามีผลตอบแทนสูง แต่จะใช้หรือนำเงินของผู้สมัครรายหลังไปจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ที่สมัครรายแรกๆ และจะหยุดการจ่ายค่าตอบแทนในเวลาต่อมา แล้วปิดกิจการ พร้อมนำเงินที่ได้จากสมาชิกหนีไป ทำให้เกิดความเสียหายลุกลามในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และหากเป็นเรื่องที่มีความเสียหายในวงกว้าง หรือกระทำผิดซับซ้อนก็จะเป็นคดีพิเศษ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษระหว่างปี พ.ศ.2547-2560 มีคดีพิเศษเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษกว่า 150 คดี มูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันดีเอสไอได้พัฒนาแอปพลิเคชัน "แชร์ลูกโซ่" เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นของธุรกิจที่ตนเองจะไปลงทุนว่ามีความเสี่ยงจะเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่ โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือของตนเองนอกจากนี้ ผู้เสียหายทั่วประเทศสามารถร้องทุกข์ ร้องเรียน ผ่าน 9 ช่องทาง อาทิ การติดต่อด้วยตนเองที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ การติดต่อผ่านเว็บไซต์กรมสอบสวนคดีพิเศษ ผ่านสายด่วน หรือคอลเซ็นเตอร์ 1202 (โทร.ฟรีทั่วประเทศ) การติดต่อผ่าน Messenger Facebook ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นต้น--จบ--