ชี้คนไทยกินไขมันอิ่มตัว มากกว่าไขมันทรานส์ที่มีเพียง1% ส่วนการออกกม.ควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารไขมันทรานส์ไหลเข้าปท.
Source - เว็บไซต์ไทยโพสต์ (Th)

Monday, July 23, 2018  14:37
48042 XTHAI XEDU XHEALTH EDUH V%NETNEWS P%WTP

          23 ก.ค61- ที่สถาบันโภชนาการ ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าวิจัยโครงการประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์ กล่าวถึงกระแสการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)กำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนหรือไขมันทรานส์ และอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ว่า ประเทศไทยรับอิทธิพลการทำเบเกอรี่เข้ามาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ที่เจอหลักๆ คือพัพ พาย โดนัท บางส่วนนำเอาสูตรทั้งหมดจากตะวันตกเข้ามา หนึ่งในนั้นคือการนำน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนซึ่งทำให้เกิดไขมันทรานส์ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการผลิตน้ำมัน ไม่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไปแล้ว แต่มีผู้ เจ้าใหญ่เพียงไม่กี่เจ้าที่มาขอให้ผลิตน้ำมันดังกล่าวให้ แต่หลังกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้แล้วในท้องตลาด จะไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ประชาชนกังวลในกลุ่มเนยขาว มาการีน เนยขาว จะไม่มีกระบวนการผลิตไม่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วน
          ศ.ดร.วิสิฐ ขณะนี้พบผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานส์ในท้องตลาดไทยสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 ส่วนอีกร้อยละ 99 ปลอดภัย ที่จริงแล้วไขมัน ที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดนั้น พบว่าเป็นไขมันอิ่มตัว เพราะเรารับประทานไขมันอิ่มตัวมากกว่า ไขมันทรานส์ แต่ที่เราต้องออกกฎหมายเพราะในหลายประเทศที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดต่างก็ออกกฎหมายของตัวเองแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ต้องออกกฎหมายเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่มีไขมันทรานส์ ไหลเข้ามาในประเทศ และ ใน 1 วันไม่ควรกินไขมันทรานส์ไม่เกินร้อยละ 1 ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน ส่วนไขมันอิ่มตัวกินไม่เกินร้อยละ 10 ต่อวัน ดังนั้นขอให้รับประทานให้พอเหมาะและออกกลังกายเป็นประจำ
          ด้าน รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดสูตรอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลกคือโรคหัวใจและหลอดเลือด จากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป และขาดการออกกำลังกาย ซึ่งไขมันทรานส์ จะเข้าไปทำให้ไขมันดี (HDL) ลดลง และทำให้ไขมันเลว (LDL) เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับไขมันอิ่มตัว ทั้งนี้ถ้าดูตามลักษณะพฤติกรรมของคนในแต่ละประเทศแล้วยืนยันว่า การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ เกิดจากการรับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินร้อยละ10 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน ส่วนปัญหาไขมันทรานส์ในเมืองไทยนั้นไม่จัดว่าเป็นปัญหานักเพราะคนไทยไม่ได้รับประทานเยอะ.

          ที่มา: www.thaipost.net