|
|
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 16.00 17.00 นาฬิกา นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นชุดการสัมมนาออนไลน์ที่สหภาพรัฐสภาจัดขึ้นต่อเนื่องรวม 3 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2/3 ในหัวข้อ The Emerging Impacts of Artificial Intelligence on Society โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการเตรียมการสำหรับการจัดทำข้อมติของคณะ กมธ.สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน หัวข้อ The Impact of Artificial Intelligence on Democracy, Human Rights and the Rule of Law ซึ่งจะได้มีการอภิปรายร่างข้อมติดังกล่าวในการประชุมสมัชชา IPU ครั้งที่ 148 ในเดือน มี.ค. 67
ก่อนที่จะมีการพิจารณารับรองข้อมติดังกล่าวในการประชุมสมัชชา IPU 149 ในเดือน ต.ค. 67 การประชุมฯ ในครั้งนี้ มี Ms. Neema Lugangira สมาชิกรัฐสภาแทนซาเนีย ในฐานะผู้ร่วมนำเสนอรายงาน (Co-rapporteur) ข้อมติเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีวิทยากรจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ Mr. Joel Blit ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู แคนาดา Mr.Philip Thigo ที่ปรึกษารัฐบาลเคนยาและสมาชิกคณะที่ปรึกษาระดับสูงของสหประชาชาติว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ และ Mr. Tawfik Jelassi ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ ยูเนสโก วิทยากรได้นำเสนอขั้นตอนของการดำเนินการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ 3 ซึ่งมี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1) Replace (การแทนที่) เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ โดยส่วนใหญ่เข้ามาแทนกำลังคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการที่ใช้อยู่ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาแทนที่เครื่องจักรไอน้ำในโรงงาน
2) Reimagine (คิดใหม่) เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้เกิดการคิดใหม่ในกระบวนการ โครงสร้าง และรูปแบบธุรกิจจนเสร็จสิ้นกระบวนการ เช่น พื้นของโรงงานได้รับการออกแบบใหม่เพื่อให้การไหลของวัตถุดิบเกิดประโยชน์สูงสุด ในกระบวนการ Reimagine นี้ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สามารถรวบรวมและประเมินข้อมูลจำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็วซึ่งอาจนำมาช่วยในเรื่องการจ้างพนักงาน เช่น กำหนดทักษะที่บริษัทหรือหน่วยงานต้องการ ระบุเป้าหมายที่ต้องการ กำหนดรายละเอียดลักษณะงาน และเขียนหนังสือเชิญเพื่อทำการสัมภาษณ์
3) Recombine (การรวมตัวกันใหม่) เป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีใหม่กับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ขึ้นทั้งหมด เช่น การรวมตัวกันของเทคโนโลยีใหม่กับที่มีอยู่ในด้านไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ควบคุมการไหลหรือปิดกั้นกระแสไฟฟ้า และวัสดุชิปกึ่งตัวนำไฟฟ้า การโทรคมนาคมและหุ่นยนต์ เป็นต้น
เครดิต : ข่าวและภาพโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|