|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 24 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2567
|
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ระหว่างเวลา 20.00 - 22.00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา (Member of the IPU Working Group on Science and Technology : WGST) พร้อมด้วย นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะทำงานฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจากไอร์แลนด์ เช็ก อียิปต์ มอลโดวา ซูรินาม บาฮามาส ไทย และฝ่ายเลขานุการฯ โดยมี Mr. Denis Naughten สมาชิกรัฐสภาไอร์แลนด์ ในฐานะประธานคณะทำงาน WGST ทำหน้าที่ประธานการประชุมการประชุมฯ เริ่มต้นด้วยการรับรองระเบียบวาระการประชุม และประธานการประชุมได้แนะนำสมาชิกคณะทำงานคนใหม่จากบาฮามาสซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ละตินอเมริกา-แคริบเบียน จากนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างเอกสาร IPU Charter on the Ethics of Science and Technology ได้แก่ (1) ความเหมาะสมในการเพิ่มประเด็นเรื่อง AI ลงในเอกสาร (2) เป้าหมายที่สำคัญของเอกสาร Charter และ (3) การกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการเพื่อที่จะได้นำเสนอเอกสารฉบับนี้ให้ที่ประชุมคณะมนตรีบริหารพิจารณารับรองในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 ในเดือนตุลาคม 2567 นี้ ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ในการนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ฯ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมในประเด็นของการให้ความสำคัญกับเป้าหมายหลักของเอกสารฉบับนี้ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการร่วมกันมาแล้ว โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ เอกสารฉบับนี้ได้กล่าวถึง AI รวมถึงการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงไว้แล้ว จึงอาจจะมีการขยายความเพิ่มเติมในเรื่อง AI อีกเพียงเล็กน้อย และเห็นควรให้มุ่งเน้นที่กระบวนการผลักดันให้เอกสารฉบับนี้ได้รับการรับรองตามกรอบเวลาในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 นี้ หลังจากที่คณะทำงานได้พากเพียรพยายามยกร่างและปรับปรุงเอกสาร Charter นี้เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3 ปี ครึ่งให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด นอกจากนี้ นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ยังได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าเป้าหมายหลักของเอกสารฉบับนี้คือเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การใช้ AI กับผลกระทบต่อสังคม โดยรัฐสภาอยู่ในสถานะสำคัญที่จะสร้างความสมดุลดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ที่ประชุมได้เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นดังกล่าวของไทยและได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ กำหนดวันในการแจ้งเวียนเอกสารดังกล่าว และการส่งข้อแก้ไขเป็นครั้งสุดท้าย รวมถึงประเด็นเรื่อง AI อาจจัดทำเป็นเอกสารกรณีศึกษา แยกออกมาจากร่าง Charter หลัก จากนั้นที่ประชุมได้รับทราบกิจกรรม Science for Peace Schools on Regulating AI: Ethics and the IPU Charter ซึ่งจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2567 ที่เวียดนาม อนึ่ง ฝ่ายเลขานุการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าในเดือนกรกฎาคม 2567 จะมีการนำแอปพลิเคชันมาใช้ในการสื่อสารและแก้ไขร่าง Charter ภายในคณะทำงานฯ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ทั้งนี้ ประธานคณะทำงานฯ ได้ขอความร่วมมือสมาชิกฯ ในการประชาสัมพันธ์การตอบแบบสำรวจในหัวข้อ Understanding parliamentarians use of scientific research ระดับของการให้ความร่วมมือตอบกลับจากประเทศสมาชิกยังคงน้อยอยู่ และสัดส่วนการตอบระหว่างกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ยังคงมีช่องว่างที่ห่างกันมาก เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|