|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
ประมวลกิจกรรมของคณะผู้แทน สนช. ในโอกาสประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๗
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 17 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2560
|
ประมวลกิจกรรมของคณะผู้แทน สนช. ในโอกาสประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๗ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ ๑๔ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ในวันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ ณ พระราชวังTavrichesky Palace คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวม ๑๕ คน เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๗และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นวันที่สาม ตามกำหนดการประชุม ประกอบด้วย - การประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ณ ห้อง Dumsky Hall โดยในช่วงเช้าเป็นการอภิปรายเกี่ยวกับระเบียบวาระเร่งด่วน (emergency item) ซึ่งที่ประชุมสมัชชา ได้ลงมติรับรองให้คำเสนอร่วมของ ๘ ประเทศในหัวข้อ "Ending the grave human crisis, persecution and violent attacks on the Rohingyas as threat to international peace and security and ensuring their unconditional and safe return to their homelandcin Myanmar" เป็นระเบียบวาระเร่งด่วนของการประชุมสมัชชาในครั้งนี้ จากนั้น เป็นการอภิปรายทั่วไป (General Debate) ภายใต้หัวข้อหลัก "Promoting Cultural Pluralism and Peace through Inter-faith and inter-ethnic dialogue" ต่อจากวันที่ ๑๕ ต.ค. ๖๐ ทั้งนี้ เมื่อเวลา ๑๗.๐๐ น. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สนช. ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ขึ้นกล่าวถ้อยแถลง ในวาระดังกล่าว โดยมีความว่า ความหลากหลายหรือพหุนิยมด้านวัฒนธรรมถือเป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทยที่ได้พัฒนาจากอดีตมาสู่ปัจจุบันคนไทยแม้จะมีความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขด้วยความกลมเกลียวมาเป็นเวลาช้านาน โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจของคนทุกชาติพันธุ์ ทุกศาสนา ทุกวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งได้สร้างคุณูปการแก่ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้ประกันสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม และในขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ยังได้ประกันสิทธิและเสรีภาพด้านวัฒนธรรม ของพลเมืองในกลุ่มชุมชนที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมอีกด้วยในวันเดียวกัน คณะผู้แทน สนช. ได้เข้าร่วมประชุมและร่วมอภิปรายในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญของสหภาพรัฐสภา รวม ๒ คณะ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายร่างข้อมติในหัวข้อ "Sharing our diversity: The 20 th Anniversary of the Universal Declaration on Democracy" ในช่วงเช้า และการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลังและการค้า ที่มีการอภิปรายในแบบ Panel Discussion ภายใต้หัวข้อเกี่ยวกับบทบาทของเอกชนในการอนุวัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านพลังงานหมุนเวียน ณ ศูนย์การประชุม Parliamentary Center นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รวมไปถึง การประชุมวาระพิเศษ ว่าด้วย "กระบวนการของสหประชาชาติในการผลักดันสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามอาวุธนิวเคลียร์" (Prohibition of Nuclear Weapons Treaty) ซึ่งนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (Member of the Bureau of the Standing Committee on Peace and International Security) พร้อมด้วย นายสมชาย แสวงการ รองประธานคณะ กมธ. ตปท. คนที่สาม ได้ร่วมอภิปรายในการประชุมดังกล่าวด้วยนอกจากนี้ ในระหว่างการประชุมสมัชชาฯ ในวันที่ ๑๖ ต.ค. ๖๐ คณะผู้แทน สนช.มีวาระพบปะหารือทวิภาคีร่วมกับคณะผู้แทน ต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ รวม ๔ วาระ ได้แก่ ๑) วาระหารือกับคณะผู้แทนรัฐสภาชิลี ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงลู่ทางในการส่งเสริมกิจกรรมและบทบาทของกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองฝ่ายในการกระชับความสัมพันธ์ด้านนิติบัญญัติของทั้งสองประเทศให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ๒) พบปะหารือนายหวัง เสี่ยวฉู (Mr. Wang Xiaochu) หัวหน้าคณะผู้แทนสภาประชาชนแห่งชาติจีน โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของภาครัฐสภาไทย-จีนซึ่งมีการแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งฝ่ายจีนพร้อมให้การสนับสนุนรัฐบาลของตนในการขยายความร่วมมือในทุกระดับกับไทย ซึ่งถือว่าดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ๓) พบปะหารือกับนาย Saber Chowdhury ประธานสหภาพรัฐสภา ซึ่งกำลังจะพ้นจากวาระหน้าที่ โดยประธานสหภาพรัฐสภาได้รับทราบพัฒนาการทางการเมืองของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบทบาทของ สนช. ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีความสำคัญในการดำเนินการในกลับสู่ประชาธิปไตยตาม roadmap ซึ่งประธานสหภาพรัฐสภาเชื่อว่าการที่สหภาพรัฐสภามีปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์กับไทยถือเป็นหนทางที่ดีที่สุด ในการสนับสนุนให้ ไทยได้มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ๔) พบปะหารือกับ Dr. Lassina Zerbo เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (CTBTO) ซึ่ง ฝ่าย CTBTO ได้ติดตามการให้สัตยาบันของไทยต่ออนุสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ เนื่องจากมีการเสนอให้ไทยดำรงตำแหน่ง external auditor ขององค์การสนธิสัญญาดังกล่าว โดยขณะนี้ การพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อการอนุวัติการตามสนธิสัญญาฯ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|