FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภา และการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาในวันสุดท้าย

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น ณ นครเจนีวา) คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๒๐๒ และการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๘ ในวันสุดท้ายของการประชุมโดยที่ประชุม ซึ่งมี Ms. Gabriela Cuevas Barron ประธานสหภาพรัฐสภา เป็นประธานการประชุม 
ได้รับทราบผลลัพธ์การประชุมต่าง ๆ ในกรอบการประชุมสหภาพรัฐสภาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ได้แก่ การประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๓ (วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) การประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมองค์การการค้าโลก (วันที่ ๙ – ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ กรุงบัวโนสไอเรส สาธารณรัฐอาร์เจนตินา) การประชุมระดับโลกของยุวสมาชิกรัฐสภา (วันที่ ๑๗ – ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา) การประชุมประจำปีของรัฐสภาในโอกาสการประชุมว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ ๖๒ (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา)จากนั้น ที่ประชุมได้รับฟังรายงานของคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา (Committee on Human Rights of Parliamentarians) โดยมี Ms. D. Solorzano รองประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นผู้นำเสนอรายงานคำวินิจฉัยต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาใน 9 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา มัลดีฟส์ มองโกเลีย ไนเจอร์ ฟิลิปปินส์ ตุรกี เวเนซุเอลา และแซมเบีย ซึ่งที่ประชุมเปิดโอกาสให้ผู้แทนรัฐสภาของประเทศที่เกี่ยวข้องอภิปรายเพื่อชี้แจงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะผู้แทนรัฐสภาจากตุรกี และเวเนซุเอลา ร่วมอภิปรายถกเถียงและชี้แจงตอบโต้กันภายในคณะผู้แทนของตนเองในประเด็นดังกล่าวและได้รับความสนใจอย่างมากจากที่ประชุมในช่วงบ่าย ที่ประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภาได้รับทราบรายงานจากเลขาธิการสหภาพรัฐสภา เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของรัฐสภาประเทศสมาชิกบางประเทศ ที่สหภาพรัฐสภาเฝ้าติดตามพัฒนาการ รวมถึงประเทศไทย 
โดยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้รายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทย ที่มีความคืบหน้าที่สำคัญหลายประการ แม้ว่าไทยจะเผชิญกับความท้าทายบางประการซึ่งกระทบต่อกรอบกำหนดเวลาของโรดแมปประชาธิปไตย แต่ประเทศไทย โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ครบทั้ง ๑๐ ฉบับแล้ว ตลอดจนการเปิดให้เริ่มมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เช่น การลงทะเบียนจดจองชื่อพรรคการเมืองใหม่ ในบรรยากาศทางการเมืองที่มีความผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งหมดนี้ถือเป็นกระบวนการขั้นต้นเพื่อเตรียมการไปสู่การจัดการเลือกตั้ง ซึ่งสหภาพรัฐสภารับทราบความมุ่งมั่นของประเทศไทย โดยเฉพาะคำมั่นของนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งมุ่งหมายที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ โดยคณะกรรมการบริหารสภาพรัฐสภา (Executive Committee) ได้มีมติให้สหภาพรัฐสภาติดตามและสนับสนุนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ประธานสหภาพรัฐสภากล่าวเพิ่มเติมว่า ตนได้รับทราบข้อมูลพัฒนาการทางการเมืองจากคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในระหว่างการพบปะหารือทวิภาคีแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะความตั้งใจจริงของประเทศไทยในการดำเนินการตามโรดแมป โดยสหภาพรัฐสภาพร้อมที่จะต้อนรับผู้แทนรัฐสภาไทยชุดใหม่ ในปี ๒๕๖๒ ซึ่งคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภามีมติรับทราบ และให้ติดตามพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยต่อไปต่อมา ที่ประชุมได้พิจารณาถึงสถานะของคณะที่ปรึกษาระดับสูงว่าด้วยแนวคิดนิยมความรุนแรงแบบสุดขั้วและการก่อการร้าย (High-level Advisory Group on Countering Terrorism and Violent Extremism) ที่หลายประเทศตั้งคำถามถึงองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาฯ โดยที่คณะผู้แทนไทยได้ลงมติ ร่วมกับที่ประชุมด้วยเสียงข้างมากเห็นชอบให้คณะที่ปรึกษาฯ สามารถดำเนินงานต่อไปได้จนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๖๑ และเห็นชอบให้ส่ง terms of reference ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาฯ กลับไปให้คณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาพิจารณาทบทวนต่อไปเมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น. ได้เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการประชุมสมัชชา (Assembly) ซึ่งที่ประชุมสมัชชาได้ร่วมกันรับรองแถลงการณ์ร่วม หัวข้อ "Strengthening the global regime for migrants and refugees: The need for evidence-based policy solutions" ซึ่งเป็นหัวข้อหลักของการอภิปรายทั่วไป (General Debate) ด้วยมติเอกฉันท์ พร้อมทั้งได้ ร่วมกันรับรองข้อมติ หัวข้อ “การธำรงรักษาสันติภาพในฐานะเครื่องมือในการบรรลุการพัฒนาที่ยังยืน (Sustaining peace as a vehicle for achieving sustainable development)” และหัวข้อ “การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานหมุนเวียน (Engaging the private sector in implementing the SDGs, especially on renewable energy)” รวมถึง ให้การรับรองหัวข้อหลักของการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ หัวข้อ “การไม่ยอมรับต่อกระบวนการว่าจ้างผู้รับจ้างรบซึ่งบ่อนทำลายสันติภาพและละเมิดสิทธิมนุษยชน (Non-admissibility of using mercenaries as a means of undermining peace and violating human rights)” และการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลัง และการค้า หัวข้อ “บทบาทของการค้าและการลงทุนที่ยุติธรรมและเสรีต่อการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การพัฒนาอุตสาหกรรม และนวัตกรรม (The role of fair and free trade and investment in achieving the SDGs, especially regarding economic equality, sustainable infrastructure, industrialization and innovation)” เพื่อยกร่างข้อมติและรับรองในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๔๐ ต่อไป ตลอดจน รับทราบรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการสหประชาชาติ ซึ่งในโอกาสนี้ นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการสหประชาชาติ เป็นผู้ทำหน้าที่รายงานสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ให้ที่ประชุมได้รับทราบแทน Mr. Anti Avsan ประธานคณะกรรมาธิการฯ ด้วย
แต่อย่างไรก็ดี หลังจากการรายงานสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ที่ประชุมได้ถกเถียงเกี่ยวกับการรับรองวาระการอภิปรายย่อย (Panel discussion) เพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมาธิการฯ ในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๙ ภายใต้หัวข้อ “บทบาทของรัฐสภาในการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ และการสร้างหลักประกันต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (The role of parliaments in ending discrimination based on sexual orientation and gender identity, and ensuring respect for the human rights of LGBTI persons)” โดยหลังจากที่ประชุมไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องนี้ เนื่องจากรัฐสภาสมาชิกที่เหลืออยู่ในที่ประชุมมีจำนวนไม่ครบองค์ประชุม จึงไม่สามารถลงมติได้ ประกอบกับ ระบบล่ามสนับสนุนการประชุมยุติลงตั้งแต่เวลา ๑๙.๑๕ น. เนื่องจากการประชุมล่วงเลยเกินเวลาตามสัญญาจัดจ้างล่ามของสหภาพรัฐสภา ทำให้ที่ประชุมจำเป็นต้องมีมติให้นำวาระที่ไม่สามารถหาข้อยุติดังกล่าวนี้ ไปพิจารณาอีกครั้ง โดยกำหนดให้ดำเนินการภายในวันแรกของการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๙ ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๑
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
หอสมุดรัฐสภา
หนังสือและสื่อเผยแพร่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เยี่ยมชมรัฐสภา
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการ ติดต่อสอบถาม ชมเชย เสนอแนะ ร้องเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
กระดานถามตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
คุณธรรมคนสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำกัด
ระบบอินทราเน็ต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
E-Learning พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats