|
วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา
ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ และ
งานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๗ Distinguished Professor
of International Relations Amitav Achary จาก American
University at Washington DC ได้กล่าวถึงอาเซียนในความ
หลากหลายของสังคมโลก ซึ่งในปัจจุบันเป็นลักษณะของชุมชน
ที่อยู่บนวิกฤตการณ์ความไม่แน่นอน และความสับสนวุ่นวายหรือ
ที่เรียกว่า โลกแห่งความหลากหลาย โดยภูมิภาคอาเซียนก็เป็น
|
|
อีกชุมชนหนึ่งที่กำลังเติบโต และกำลังเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ
ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมถึงความไม่แน่นอน
อื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนในระยะยาว และแนวทาง
ที่จะนำไปสู่การเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ โดยในประเด็นดังกล่าว
จะถูกนำมาหารือเพื่อหาแนวทางในการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว
และเพื่อเรียนรู้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะสามารถจัดการกับปัญหา
เหล่านี้ได้อย่างไร ตลอดจนเป็นการปูแนวทางสู่อนาคตที่เป็นธรรม
และยั่งยืน |
|
|
|
|
|
|
|
และในเวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และภูมิทัศน์ทางสังคมอาเซียน
โดยมีผู้เข้าร่วมการอภิปราย ดังนี้
๑. Dr. Tang Siew Mun - Head of the ASEAN Studies
Centre, Institute of Southeast Asian Studies (ISEAS) Yusof
Ishak, Singapore
๒. Mr. Zairill Khir Johari - Senior Fellow of Penang
Institute and Penang State Executive Councillor Penang,
Malaysia
๓. Professor Dr. Prabir De - Director, ASEAN-India Centre, Research Information System for Developing Countries (RIS), India ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล
ผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
โดยได้กล่าวถึงช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อาเซียนได้สร้าง
ความเปลี่ยนแปลงจากภูมิภาคที่ไม่มั่นคงไปสู่การเป็นภูมิภาค
แห่งสันติสุข และความมั่งคั่งเช่นในปัจจุบัน ซึ่งระบบอุตสาหกรรม
ก็ได้มีการเจริญเติบโตอย่างฉับพลัน รวมไปถึงการค้าเสรีในระบบ
เศรษฐกิจพหุภาคี ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
และประเทศคู่ค้า ในขณะที่เราเดินทางไปสู่โลกแห่งความหลากหลาย
ด้วยอิทธิพลจากประเทศจีนและการปฏิวัติระบบดิจิทัลแบบโลกาภิวัตน์
พลเมืองอาเซียนจะต้องเผชิญหน้ากับการเมืองในรูปแบบใหม่
รวมถึงเศรษฐกิจและสังคมใหม่ๆ ด้วย โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย
ได้มีการปฏิรูปการเมือง เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตย
ตามรูปแบบเดิม ส่วนประเทศจีนก็เป็นประเทศที่มีการค้าเสรีมากขึ้น
และเป็นประเทศใหม่ในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจและมีบทบาทในด้าน
การค้าเสรี |
|
อย่างไรก็ตาม จีนยังคงเป็นประเทศใหม่ที่เพิ่งก้าวเข้ามาเป็นผู้นำ
ทางการค้าเสรี และมีเศรษฐกิจที่ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ดังนั้น
การร่วมมือกันทางการค้า จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับประเทศอินเดียได้รับผลกระทบจากประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นอย่างมาก เช่น ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม จึงทำให้เกิด
กำแพงภาษี ส่วนด้านการค้าเสรีกับประเทศจีนนั้น อินเดียได้
พยายามหาลู่ทางในการส่งสินค้าไปยังประเทศจีน รวมทั้ง
เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือในด้านการแข่งขันการค้าเสรีให้มาก
ยิ่งขึ้นด้วย
|
|
|
|
|