วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๓๐ ๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๒ ชั้น ๐ ศูนย์ประชุมนานาชาติเจนีวา (CICG) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการ สหภาพรัฐสภาสตรี และนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ร่วมการอภิปรายย่อย (Panel Discussion) ในหัวข้อ ความเสมอภาคทางเพศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Gender equality in science and technology) ว่า ปัจจุบัน ผู้หญิงหลายคนยังคงพบกับปัญหาเรื่องเพศภาวะ การเหมารวมว่าผู้หญิง ต้องทำงานบ้านเท่านั้น แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและตลาดแรงงาน ผู้หญิง เริ่มออกไปทำงานมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ด้วยเหตุนี้ นักเรียนในมหาวิทยาลัยจึงต้องวางแผนอาชีพหลังจากตนเอง จบการศึกษา ซึ่ง STEM Education หรือแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน ๔ สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์นั้นกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานสถิติการศึกษาของ ประเทศไทยในปี ๒๕๕๙ แสดงตัวเลขจำนวนสตรีที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่า จำนวนของบุรุษที่จบการศึกษาในสาขาวิชาเดียวกัน โดยคิดเป็นร้อยละ ๖๑.๙๘ และร้อยละ ๓๘ ตามลำดับ เช่นเดียว กับจำนวนนักศึกษาปวช. ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวนของนักศึกษาสตรีมีมากกว่านักศึกษาชาย ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน โดยคิดเป็นร้อยละ ๖๔.๙๓ และ ๓๕.๐๗ ตามลำดับ ตัวเลขดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่านักเรียน หญิงในไทยนิยมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทของ สมาชิกรัฐสภาคือการส่งเสริมสะเต็มศึกษาเชิงนวัตกรรมโดยการเสนอกฎหมายและพิจารณาร่างกฎหมายในเรื่อง สะเต็มศึกษาและคิดค้นหลักสูตรใหม่ในการแก้ไขช่องว่างของทักษะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยโลกที่หมุนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้เอง จึงควรจะได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในการ วิจัยและพัฒนา (R&D) วิชาการ งบประมาณ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล บทบาทอีกประการหนึ่งของสมาชิก รัฐสภาคือการทำให้ผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์สำหรับคนรุ่นต่อไป รัฐบาลไทย ในฐานะหุ้นส่วนความร่วมมือกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และองค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อเสริมพลังให้กับนักเรียนหญิงของไทย ในชนบทเมื่อปีที่ผ่านมา โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้กับภาคการเกษตร โดยนักเรียนหญิงและผู้นำชนชนสตรี จำนวนกว่า ๒๐๐ คน ได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีโดรนในการทำนา นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ประชาชนทั่วไปจะต้องสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาสังคม ซึ่งขณะนี้ได้ทำการติดตั้งเครือข่าย อินเทอร์เน็ตไฮสปีดฟรีภายใต้โครงการ ประชารัฐ ซึ่งได้ติดตั้งไปแล้วจำนวน ๒๔,๗๐๐ หมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและสร้างทักษะความเข้าใจในการ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว ยังเป็นการเชื่อมชุมชนในชนบทเข้าสู่ตลาดโลกอีกด้วย
|