การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ ๒๗ ระหว่างวันที่ ๑๓ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๒ คณะผู้แทน สนช. ประกอบด้วย พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ สมาชิก สนช. หัวหน้าคณะผู้แทนฯ พร้อมด้วย พล.อ.สุรวัช บุตรวงษ์ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ และนางนิสดารก์ เวชยานนท์ สมาชิก สนช. ได้เดินทางเข้าร่วม การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ ๒๗ (the 27th Annual Meeting of the Asia-Pacific Parliamentary Forum-APPF 27) ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๒ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิก สนช. คณะผู้แทน สนข. พร้อมด้วย พล.อ. สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์สมาชิก สนช. หัวหน้าคณะผู้แทนฯ และพล.อ. สุรวัช บุตรวงษ์ สมาชิก สนช. ได้เข้าร่วมการประชุมสมาชิกรัฐสภาสตรี (Meeting of Women Parliamentarians) โดยได้กล่าวถ้อยแถลง ในสามหัวข้อ ได้แก่ ๑. การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศ และสร้างพลังอำนาจให้สตรีและเด็กเพื่อสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ๒. การสร้างความมั่นใจในความเท่าเทียมแก่สตรีและบุรุษในการเข้าถึงการศึกษา การฝึกอบรมทางวิชาการ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสันติภาพที่ยั่งยืนและบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓. การสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศและสร้างพลังอำนาจสตรีในการตัดสินใจในทุกระดับ โดยมีประเด็น สรุป ได้แก่สตรีแม้จะมีบทบาทมากขึ้นแต่ยังห่างไกลจากความเท่าเทียมกับบุรุษ อีกทั้งจำนวนแรงงานสตรีในด้าน แรงงานยังต่ำหากเปรียบเทียบกับแรงงานชาย ทั้งที่แรงงานสตรีมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในด้านเศรษฐกิจ โดยตัวเลขด้านเศรษฐกิจของเอเชียพบว่า การขจัดความอคติทางเพศสามารถเพิ่มรายได้ต่อหัวได้ถึงร้อยละ ๓๐.๖ ขณะที่ในปี ๒๕๖๑ ธุรกิจที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๔๒ จากร้อยละ ๓๑ ในปี ๒๕๖๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑ ซึ่งทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่สามของโลกรองจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียในช่วงท้ายผู้แทน สภานิติบัญญัติแห่งชาติของไทยได้นำเสนอข้อเสนอแนะ ๔. ประการซึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในสามหัวข้อข้างต้น ได้แก่ ๑. สมาชิกรัฐสภาสตรีเอเชีย-แปซิฟิกต้องส่งเสริมให้มีการนำวาระการวิจัยเชิงนโยบายหลากหลายมิติมาใช้เพื่อ ให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศในด้านแรงงาน ๒. ต้องดำเนินการอย่างกล้าหาญเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสตรีให้ดีขึ้น รวมทั้งเด็กและครอบครัว ซึ่งต้องพึ่งพามารดาและภรรยา ๓. การส่งเสริมบทบาทของสตรี ในฐานะตัวแทนแห่งการเปลี่ยนแปลง ในแง่ของสตรีเพื่อสันติภาพและ วาระการความมั่นคงซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐสภาและความเป็นหุ้นส่วนของรัฐสภาและความน่าเชื่อถือ ในทุกระดับทั้งผู้นำในภูมิภาคและผู้นำในหมู่สมาชิก เพื่อสร้างโลกที่สตรีทุกหมู่เหล่าได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพ และให้เกียรติ การได้รับความรักและการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน เครดิต : ภาพและข่าวโดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|