เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ณ สำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมด้วยนางพิไลพรรณ สมบัติศิริ และนายวรพล โสคติยานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายนัฑ ผาสุข เลขาธิการวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นภาครัฐสภา ประจำปี ๒๕๖๒ ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง วันที่ ๒๑ - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ภายใต้หัวข้อหลัก ความท้าทายต่อแนวคิดพหุภาคีนิยมที่กำลังปรากฏขึ้น : การตอบสนองของ ภาครัฐสภา (Emerging challenges to multilateralism : Parliamentary response) เพื่อทบทวนระบบพหุภาคีนิยม ซึ่งกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ ของโลกที่เปลี่ยนแปลงได้ และเพื่ออภิปรายหาแนวทางที่การเมืองภายในประเทศและสถาบันต่าง ๆ จะช่วยสร้างเสริมความแข็งแกร่งของระบบพหุภาคีนิยมในทุกมิติ โดยรัฐสภาจำเป็นต้องมีส่วนร่วม ในการหารือร่วมกับสหประชาชาติเกี่ยวกับอนาคตของแนวคิดพหุภาคีนิยมเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจในระบบพหุภาคีให้เกิดขึ้นใหม่ ในการนี้ นายวรพล โสคติยานุรักษ์ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ร่วมอภิปรายในหัวข้อ แนวคิดพหุภาคีนิยมในมิติระดับชาติ : การปฏิรูปเชิงสถาบันเพื่อการเมืองที่ดีขึ้น สรุปใจความ สำคัญว่า การพัฒนาเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความตกลงการค้า ระหว่างประเทศในระบบพหุภาคีนิยมปัจจุบันเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต อย่างยั่งยืนของประชาคมโลก ประเทศไทยสนับสนุนความตกลงการค้าระหว่างประเทศในระบบ พหุภาคีนิยม แต่มีข้อควรพิจารณาบางประการ องค์การการค้าโลก ซึ่งเป็นองค์กรดูแล ความตกลงการค้าระหว่างประเทศในระบบพหุภาคี ซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมากในเรื่อง การค้าระหว่างประเทศ ในภาคบ่าย เป็นการอภิปรายในหัวข้อ (๓) ความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในองค์การ สหประชาชาติและนอกเหนือจากองค์การสหประชาชาติ (Gender equality at the United Nations and beyond) และหัวข้อ (๔) การลงทุนในแนวคิดพหุภาคีนิยม : ช่องว่างในการ จัดหาเงินทุนขององค์การสหประชาชาติ (Investing in multilateralism : the UN funding gap) ในการนี้ นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ร่วมอภิปรายในหัวข้อ การลงทุนในแนวคิดพหุภาคีนิยม : ช่องว่างในการจัดหาเงินทุนขององค์การสหประชาชาติ สรุปใจ ความสำคัญว่า "ในฐานะที่ตนเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการ สหประชาชาติ และในฐานะสมาชิกรัฐสภาในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ตนจึงขอเสนอแนะว่า จำเป็นต้องมีนโยบายและมาตรการลดค่าใช้จ่ายบางประการเพื่อช่วยปิดช่องว่างเรื่องการจัดหาทุน ของสหประชาชาติ เพื่อจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของสหประชาชาติและกิจกรรมของสหประชาชาติ นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาควรเข้าร่วมและสามารถ เข้าสังเกตการณ์การเจรจาหรือการประชุม ร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงองค์การสหประชาชาติ เพื่อช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกิจกรรมของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องธรรมาภิบาล นอกจากนี้ ในโอกาสการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้พบปะ หารือทวิภาคีกับ Ahmed Bin Abdullah Bin Zaid Al-Mahmoud ประธานสภาที่ปรึกษา (Shura Council) รัฐกาตาร์ โดยทั้งสองได้สนทนาเกี่ยวกับการเข้าร่วมการประชุมสมัชชา สหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๔๐ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๒ ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ในการนี้ นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมด้วยเลขาธิการวุฒิสภา เข้าร่วมในการพบปะหารือ ทวิภาคีดังกล่าวด้วย เครดิต: ภาพและข่าวโดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
|