ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนายเรอโน เมแยร์ผู้แทนโครงการพัฒนา แห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมวันรัฐสภาสากล การเสวนาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภา” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องสัมมนา  B1 - 2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมวันรัฐสภาสากล การเสวนาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภา” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายมาร์ติน จุนกอง เลขาธิการสหภาพรัฐสภา ได้ให้เกียรติกล่าวสารจากสหภาพรัฐสภา เนื่องในวันรัฐสภาสากลผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย ในการนี้ นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้เชี่ยวชาญของ UNDP ภาคประชาสังคม กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ กลุ่ม LGBTI และกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมพิธีเปิด

โดยนางพรพิศ เพชรเจริญ กล่าวว่า ตนมีความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมวันรัฐสภาสากล การเสวนาเรื่อง "การมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภา" ซึ่งจัดโดยความร่วมมือของสหภาพรัฐสภา (IPU) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ  (UNDP) และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้ โดยวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันรัฐสภาสากล ตามข้อมติสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ตนได้เห็นถึงความมุ่งมั่นพยายามในการส่งเสริมให้กลไกของสถาบันนิติบัญญัติยืนหยัดเคียงข้างประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยเครื่องมือการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มในการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นวิกฤตความท้าทายของโลก ไม่ว่าจะเป็น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และความไม่มั่นคงทางอาหาร ตลอดจนวิกฤตต่อความเชื่อมั่นในธรรมาภิบาลทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเป้าหมายที่ 16 ความสงบสุขยุติธรรม
และสถาบันที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ ภารกิจหลักของรัฐสภา คือ การออกกฎหมาย การกำกับดูแล การพิจารณางบประมาณ และการเป็นผู้แทนประชาชน โดยทางรัฐสภาดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมทั้งมีบทบาทในการ "ร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมสร้างและร่วมตัดสินใจ" ด้วยความสมัครใจและเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนกลุ่มเปราะบาง นอกจากนี้ รัฐสภามีช่องทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ อาทิ กลไกของคณะ กมธ. การรับเรื่องราวร้องทุกข์ การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันเรามีระบu e-initiative ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาตรวจสอบรายชื่อและคุณสมบัติของประชาชนผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายโดยเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก ทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วทันท่วงทีและยืนยันความถูกต้องได้ถึงร้อยละ 100 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านระบบรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญอีกด้วย และขอถือโอกาสนี้เรียนให้ทุกท่านทราบว่า รัฐสภาไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Parliamentary Forum: APPF) ครั้งที่ 30 ระหว่างวันจันทร์ที่ 26 - วันพฤหัสบดีที่ 29 ต.ค. 65 ภายใต้หัวข้อ "บทบาทของรัฐสภาในการเร่งรัดการพัฒนาที่ยั่งยืนภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเวทีที่สำคัญที่รัฐสภาจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกกว่า 28 ประเทศ จะได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาจากประชาชนของแต่ละประเทศในบริบทความท้าทายของการระบาดใหญ่ที่ทั้งโลกต่างเผชิญร่วมกัน เพื่อก้าวไปสู่การบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป และขอขอบคุณ สมาชิกรัฐสภา เลขาธิการสหภาพรัฐสภา และผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งวิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางของรัฐสภานานาชาติในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และขอฝากให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตั้งใจเรียนรู้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและองค์กรของเราต่อไป

ด้านนายเรอโน เมแยร์ ได้กล่าวว่า ความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มจะยังคงมีการดำเนินและขยายบริบทต่อไป ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภานั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการบรรลุ SDGs พร้อมการสร้างกลไกที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในนานาประเทศ ซึ่งหมายรวมถึงภาคเอกชน CSO และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ โดยเมื่อปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา UNDP ได้ร่วมกับ IPU เปิดตัว Third Global Parliamentary Report ซึ่งรายงานนี้จะนำเสนอภาพของการมีส่วนร่วมและการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในภารกิจของรัฐสภา ซึ่งรัฐสภาตระหนักดีว่าตนมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับความท้าทายของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย การกำหนดนโยบาย และกระบวนการกำกับดูแลที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งการเข้ามามีส่วนร่วมจะทำให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในส่วนของเนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการการตัดสินใจอีกด้วย โดยรัฐสภาไทยมีช่องทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ อาทิ  กลไกของคณะ กมธ. การรับเรื่องราวร้องทุกข์ การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีระบu e-initiative คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาตรวจสอบรายชื่อและคุณสมบัติของประชาชนผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายโดยเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก ทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วทันท่วงทีและยืนยันความถูกต้องได้ถึงร้อยละ 100 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านระบบรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ

จากนั้น เป็นการปาฐกถาในหัวข้อ “บทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดย นายชาร์ลส์ ชูเวล UNDP Global Lead on Inclusive Processes and Institutions ซึ่งได้กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภานั้นถือเป็นข้อกำหนดพื้นฐาน ไม่ใช่ทางเลือก และไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ร่วมกันสำหรับรัฐสภา สมาชิกรัฐสภา และการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังช่วยให้รัฐสภาสามารถเข้าถึงข้อมูลและแนวคิดในวงกว้างและเชิงลึกที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้แทนประชาชน การออกกฎหมาย การกำหนดนโยบายสาธารณะ และการกำกับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังและปณิธานของชุมชน

ต่อมาเป็นการปาฐกถาในหัวข้อ “แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภา : สิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนและพื้นที่สาธารณะ” โดย น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา โฆษกคณะ กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของคณะ กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงและช่องทางการมีส่วนร่วม อาทิ การร้องเรียนผ่านคณะ กมธ. การชุมนุมสาธารณะโดยสงบและปราศจากอาวุธ การเสนอความเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการพิจารณางบประมาณแผ่นดิน และการหาแนวทางในการลดความขัดแย้งเพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก ดังนั้น การสร้างความเท่าเทียมและการลดความเหลื่อมล้ำจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ควรตระหนักในการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของฝ่ายนิติบัญญัติ

จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ “การมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภา : กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ” โดยนายศาสตรา ศรีปาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายอนุศักดิ์ คงมาลัย สมาชิกวุฒิสภา นายกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย น.ส.สุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) และน.ส.นารีรัตน์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดำเนินการเสวนาโดย น.ส.สุภาณี พงษ์เรืองพันธุ์ ผู้จัดการโครงการด้านความเท่าเทียมระหว่างเพศและการมีส่วนร่วมทางสังคม และการเสวนาในหัวข้อ “การมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภา : กลุ่มชาติพันธุ์ โดย นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายอำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา Ms.Melissa Haydon Clarke อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย นายอภินันท์ ธรรมเสนา รักษาการหัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารความรู้และเครือข่ายสัมพันธ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และ รศ.นฤมล อรุโณทัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการเสวนาโดย นายวิสุทธิ์ ตันตินันท์ ที่ปรึกษาด้านความร่วมมือและขยายพันธกิจ

ทั้งนี้ ตามข้อมติสมัชชาแห่งสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันรัฐสภาสากล ซึ่งในปี 2022 นี้ สหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union: IPU) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ร่วมกันนำเสนอ Global Parliamentary Report ผ่าน Webinar เมื่อวันที่ 30 - 31 พ.ค. ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อหลัก คือ "Public Engagement in the Work of Parliament" เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภาในขณะที่เราทุกคนทั่วโลกต้องเผชิญสถานการณ์วิกฤตร่วมกันภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีผลให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดจากวิกฤติการณ์ความขัดแย้งทั่วโลก ดังนั้น การสร้าง
แนวทางการมีส่วนร่วมของสาธารณชนเพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นในกระบวนการตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตของประชาชนจึงถือเป็นเป้าหมายของความสำเร็จดังกล่าว ประกอบกับเดือนมิถุนายนเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ UNDP และ IPU จึงได้จัดการเสวนา เรื่อง "การมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจรัฐสภา" เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิและบทบาทการมีส่วนร่วมและเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อาทิ สิทธิการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิการจัดตั้งพรรคการเมือง สิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สิทธิการออกเสียงประชามติ สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และสิทธิการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของรัฐสภาจะดำเนินได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ประชาชนต้องรักษาสิทธิของตนตามรัฐธรรมนูญ และสถาบันนิติบัญญัติต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ รัฐสภาและ UNDP จะร่วมกันส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่าง ๆ  ได้แก่ ความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิการมีส่วนร่วมสาธารณะ ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างความมั่นใจในการมุ่งมั่นเดินหน้าไปสู่วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
หอสมุดรัฐสภา
หนังสือและสื่อเผยแพร่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เยี่ยมชมรัฐสภา
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการ ติดต่อสอบถาม ชมเชย เสนอแนะ ร้องเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
กระดานถามตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
คุณธรรมคนสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำกัด
ระบบอินทราเน็ต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
E-Learning พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats