-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
สรุปภาพรวมการสัมมนากลุ่มย่อยสมาชิกสปช. ทั้ง ๑๐ กลุ่ม ภายใต้หัวข้อ "เราจะไปอนาคตที่หวังไว้ได้อย่างไร" วันจันทร์ที่้ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันจันทร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ชั้น ๔ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการสัมมนาของสมาชิกสภาปฏิรูป เรื่อง สายพลัง สปช. ออกแบบอนาคตประเทศไทยมีการสัมมนากลุ่มใหญ่ โดยผู้แทนของแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อย ภายใต้หัวข้อ "เราจะไปสู่อนาคตที่หวังไว้ได้อย่างไร" ที่สมาชิก สปช.ได้ระดมความคิดเห็นร่วมกันเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

 
กลุ่ม ๑ นายคุรุจิต นาครทรรพ เป็นผู้แทนนำเสนอประเด็นความเลื่อมล้ำ ๓  ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากร และการศึกษา โดยใช้กระบวนการปรับปรุงระบบภาษีให้มีความเป็นธรรม เข้มข้นและกวดขันการจัดเก็บภาษี การบังคับใช้กฎหมายในการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ และไม่เลือกปฏิบัติ
 
กลุ่ม ๒ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นผู้แทนนำเสนอประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การศึกษา ทรัพยากรธรรมชาติ
และการสร้างชุมชนเข้มแข็ง การลดอำนาจรัฐส่วนบน ขยายอำนาจฐานการเมืองส่วนล่าง สร้างสมดุลระหว่างการเมือง ราชการ และประชาชน
 
กลุ่ม ๓ นายดุสิต เครืองาม นางทิชา ณ นคร และนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นผู้แทนนำเสนอ โดยนางทิชา ณ นคร นำเสนอประเด็น
ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา โดยกล่าวถึงภาครัฐต้องเพิ่ม การเปิดพื้นที่การศึกษาทางเลือก สร้างโอกาสให้แก่เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส
ผู้มีข้อจำกัดทางร่างกาย ให้เข้าถึงการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 
นายดุสิต เครืองาม นำเสนอประเด็นลดความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการใช้และเยียวยาทรัพยากรธรรมชาติให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน และท้องถิ่น รัฐมีหน้าที่สำรวจ ศึกษาข้อมูลทรัพยากรธรรทชาติเพื่อนำไปใช้อย่าง
เป็นธรรม 
และนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ นำเสนอประเด็นลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจ โดยจะเร่งส่งเสริม ให้คนจนมีฐานะดีขึ้นและลดทอน
การร่ำรวยแบบไม่มีเหตุผลคือการเอาเปรียบผู้อื่นให้น้อยลง
 
กลุ่ม ๔ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร และ นางประภาภัทร นิยม เป็นผู้แทนในการนำเสนอประเด็นลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ การศึกษา
 และทรัพยากร ดังนี้ ๑. ด้านเศรษฐกิจ ควรจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได และผลักดันภาษีมรดกและที่ดิน จำกัดการถือครองที่ดิน
และตั้งธนาคารเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงเงินทุนของผู้มีรายได้น้อย  . ด้านการศึกษา ควรปรับแก้ พรบ. ระเบียบบริหารด้านบุคลากรทางการศึกษา ครู ให้อยู่กับผู้บริหารสถานศึกษาหรือท้องถิ่น ปรับปรุงคุณภาพด้านการศึกษา มีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กใช้สมองมากกว่าการท่องจำ . ด้านทรัพยากร เน้นสร้างการมีส่วนร่วมตัดสินใจของชุมชนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ทั้งนี้ ในการสร้างพลเมืองไทยที่มีคุณภาพนั้นควรมีการกำหนดนโยบายในการพัฒนาพลเมืองไทยเป็นวาระแห่งชาติ โดยผ่านการศึกษาวัฒนธรรมและสื่อ ควรปรับบทบาทสื่อให้เสมือนหนึ่งเป็นครูช่วยสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดีให้ประชาชน โดยสอดแทรกเรื่องวินัยของประชาชนตั้งแต่อนุบาล ยกย่องคนดี ปลูกฝังความรักชาติและวัฒนธรรมไทย
 
กลุ่ม ๕ นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ และนางอัญชลี ชวนิชย์ เป็นผู้แทนในการนำเสนอประเด็นในการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ การผูกขาดทางเศรษฐกิจ กฎหมายที่ล้าหลัง และความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมในทุกๆ ด้าน ทำให้เป็นอุปสรรค ต่อความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ การแก้ไขปัญหานี้คือ แก้ไขระบบการศึกษาและระบบยุติธรรมให้เกิดความเท่าเทียม มีการบังคับใช้อย่างเสมอภาคและมีประสิทธิภาพ ลดการผูกขาดและความเหลื่อมล้ำ เพื่อแก้ปัญหาคอรัปชั่น ในด้านกฎหมายที่เป็นธรรม มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งควรปรับปรุงระบบกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ยกเลิกและละเว้นการออกกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนโดยไม่จำเป็น รัฐและพลเมืองต้องเคารพกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน และไม่เลี่ยงกฎหมาย
 
กลุ่ม ๖ นางเตือนใจ สินธุวณิก และนายอมรวิชช์ นาครทรรพ เป็นผู้แทนนำเสนอประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำ ดังนี้ ๑. ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาษี และมีกลไกทางภาษีให้เป็นธรรมอย่างแท้จริง ดำเนินการด้านภาษีมรดกและทรัพย์สิน จัดรัฐสวัสดิการให้สมบูรณ์แบบในทุกสาขาอาชีพ ตามบริบทของสังคมไทย ๒.ด้านการศึกษา ควรเพิ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพและสามารถเข้าถึงครอบคลุมทั่วประเทศ รัฐควรประกันโอกาสทางการศึกษาในแนวทางเดียวกับ สปสช. มีการกระจายการจัดการพื้นที่ สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ๓. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ควรจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างเพียงพอและเป็นธรรม จัดสรรที่ดินทำกินอย่างพอเพียง ปฏิรูปกฎหมายถือครองที่ดิน และสร้างจิตสำนึกในการหวงแหน รักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน รักษาป่าชุมชน สำหรับปัญหาและอุปสรรคด้านความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นเกิดจาก คน ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑.นักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ ๒.ค่านิยมที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม ขาดจิตสำนึกต่อส่วนรวม และ ๓.กลุ่มนายทุนผู้เสียผลประโยชน์ส่วนด้านสังคมพหุวัฒนธรรมนั้น ควรกระจายอำนาจการตัดสินลงสู่พื้นที่ รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาพื้นที่ ให้ความสำคัญกับศาสนาในการสร้างความสมานฉันท์ทางสังคม ส่งเสริมการปฏิรูปทางการศึกษา การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ใช้สื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมความเข้าใจทางวัฒนธรรมส่งเสริมงานจิตอาสาให้เกิดขึ้นในกลุ่มคนทุกภาคส่วน ส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ในอาคาร สถานที่ ขนส่ง บริการ สาธารณะได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทั้งหมดในสังคม
 
กลุ่ม ๗ นายพงศ์โพยม วาศภูติ นายพิสิฐ ลี้อาธรรม และนางสาวสุภัทรา นาคะผิว เป็นตัวแทนกลุ่มผลัดเปลี่ยนกันนำเสนอต่อที่ประชุมว่า
 ในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การศึกษา การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปฎิรูปที่ดินโดยกระจายการถือครองที่ดิน
 การตั้งธนาคารที่ดิน และนำระบบสหกรณ์มาใช้จัดการทรัพยากร โดยเฉพาะการนำระบบ โฉนดชุมชนมาใช้ สนันสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชน อปท.ชุมชน เข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น และควรให้ชุมชนมีสิทธิในการตัดสินใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น เน้นการ "ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจชุมชน" ทั้งนี้ยังได้มีการนำเสนอถึงปัญหาและอุปสรรค เช่น การเมืองขาดเสถียรภาพ ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปประเทศของ สปช.ไม่ถูกนำไปใช้ เป็นต้น
 
กลุ่ม ๘ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นผู้แทนนำเสนอประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ โดยได้กล่าวถึงแรงหนุนและแรงส่งที่ทำให้ฝันเป็นจริง ฝันที่หนึ่ง ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยลดลง แรงหนุนคือ การส่งเสริมกระจายอำนาจขจัดปัญหาความยากจน และส่งเสริมความ
เท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา อาชีพและรายได้แก่คนพิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ส่วนแรงต้านนั้นกลไกของภาครัฐและเอกชนไม่เอื้อต่อความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ฝันที่สอง แรงหนุน คือการให้ความรู้ให้การศึกษา การไม่ยอมรับคนโกง การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น โดยการปรับปรุงกฎหมายการควบคุมการคอรัปชันทั้งด้านเศรษฐกิจ  และการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนแรงต้านนั้น ยังคงระบบอุปถัมภ์พวกพ้องและกลุ่มผู้มีอิทธิพล
 
กลุ่ม ๙ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ และนางสารี อ๋องสมหวัง เป็นผู้แทนนำเสนอประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การศึกษา
และทรัพยากรธรรมชาติ โดยการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน คนจนต้องมีรายได้ต่อหัวต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นปีละหนึ่งล้านบาท ให้ประชาชนเกิดความรับรู้และเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน   อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งกระตุ้นประชาชนให้มีความตื่นตัวในการรับรู้เกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและการจัดการศึกษาให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยให้เรียนฟรีในสายอาชีพ และปริญญาตรีใบแรก พร้อมทั้งปรับโครงสร้างเงินเดือนของสายอาชีพให้สูงขึ้น สำหรับด้านกฏหมายควรมีการตรวจสอบการบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง สำหรับด้านการเมืองเสนอให้มี "สภาพลเมือง"
มีหน้าที่คัดกรองคนดีลงสมัครรับเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นในทุกระดับ

 

กลุ่ม ๑๐ นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล และนาย กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ เป็นผู้แทนนำเสนอประเด็นความเหลื่อมล้ำ โดยได้ผลัดเปลี่ยนกันนำเสนอความคิดเห็นในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เห็นควรให้มีการจัดทำแผนระยะยาวเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ควรกระจายทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จัดหลักสูตรการศึกษาให้มีความหลากหลาย รวมทั้งพัฒนาคุณภาพครู และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา กระจายการศึกษาสู่ท้องถิ่น ส่วนความเหลื่อมล้ำด้านเศรษกิจ ที่สำคัญควรมีการปฏิรูประบบภาษีอากร ระบบงบประมาณ รวมทั้งลดต้นทุนด้าน Logistics ลดการผูกขาด ปฎิรูปตลาดเงิน สำหรับการกระจายอำนาจนั้นควรมีการแยกอำนาจและภารกิจระหว่างรัฐบาลกับท้องถิ่นให้ชัดเจน กระจายอำนาจทางการคลัง ลดอำนาจรัฐบาลกลาง เพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)