-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ประธานสปช. รับหนังสือข้อเสนอแนะในการปฏิรูปจากคณะทำงานการปฏฺิรูปการเมือง ทปอ.

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันพุธที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑  นายเทียนฉาย  กีระนันทน์ ประธานสภาปฏฺิรูปแห่งชาติ รับยื่นหนังสือจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ รักษาการประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อเสนอแนวทางในการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นข้อเสนอจากการประชุมของคณะทำงานการปฏิรูปด้านการเมืองที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย รายละเอียดดังนี้

          ๑. การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจทางการเมือง โดยให้แยกอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติออกจากกัน โดยทั้งสองอำนาจต่างยึดโยงมาจากประชาชน กล่าวคือ

              ๑.๑ ให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชนแบบเดียวกันกับการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. หรือนายกอบจ. ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทางตรง

             ๑.๒ สส. มีที่มาจาก ๒ ช่องทางคือ ก. มาจากการเลือกตั้งในพื้นที่โดยคำนวณจากฐานประชากร ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง และ ข. มาจากการเลือกตั้งของสาอาชีพทั้งนี้สส. จะทำงานด้านนิติบัญญัติและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ห้ามมิให้สส. ไปทำงานฝ่ายบริหาร

             ๑.๓ ให้สภาพลเมือง ไม่เกิน ๙๐๐ คน มาจากประธานสภาเทศบาลเลือกกันเองทั่วประเทศ  อำเภอละ ๑ คน เป็นการใช้อำนาจทางตรงในการตั้งกระทู้,ตรวจสอบ,ทวงถามการทำงานจากฝ่ายบริหารรวมทั้งเสนอปัญหาต่าง ๆ โดยตรงต่อฝ่ายบริหาร ประชุมปีละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๔ – ๕ วัน

             อย่างไรก็ตาม วุฒิสภายังไม่ได้ละเลยเสียทีเดียว ขึ้นอยู่กับการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจและหน้าที่ให้ชัดเจน มีการถ่วงดุลและไม่ซ้ำซ้อน

         ๒. การปฏิรูปพรรคการเมือง มุ่งหวังให้พรรคการเมืองไม่ถูกครอบงำจากกลุ่มทุน ให้เป็นพรรคการเมืองที่สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมและเป็นสถาบันการเมืองที่ยั่งยืน เสนอให้มีข้อกำหนดให้พรรคการเมืองต้องมีสมาชิกพรรคกระจายอยู่ทุกภาค ให้รัฐ จัดงบสนับสนุนแก่พรรคการเมืองที่สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนด เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมทางการเมืองได้ และให้มีมาตรการทางภาษีช่วยให้มีการบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองได้อย่างเปิดเผย

         ๓. ปฏิรูประบบผลตอบแทนให้สมฐานะทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จัดระบบสวัสดิการที่เหมาะสมกำหนดข้อห้ามต่าง ๆ เพื่อป้องกันการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน รวมทั้ง บทลงโทษที่รุนแรงหากทำผิดระเบียบ โดยเฉพาะกรณีทุจริตและปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน

         ๔. เสริมสร้างกระบวนการอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเช่น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเปิดเผยต่อสาธารณะมากที่สุด เพื่อให้มีการประเมินผลการทำงานของนักการเมืองตามมาตรฐานทางวิชาการและเปิดเผย เป็นต้น

         

 

 

download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)