|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ |
|
|
|
|
|
|
-
กรอบการดำเนินงานสปช.
|
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
รองประธานกรรมาธิการปฏิรูปสื่อสารมวลชนฯ คนที่หนึ่ง รับข้อเสนอจากประธานคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏฺิรูป
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 11 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558
|
วันพุธที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ ศาสตราจารย์กิตติคุณสุกัญญา สุดบรรทัด รองประธานกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ คนที่หนึ่ง พร้อมคณะกรรมาธิการ รับข้อเสนอเอกสารประกอบการพิจารณาแนวทางในการกำกับดูแลจริยธรรมสื่อขององค์กรสื่อ จากนายเทพชัย หย่อง ประธานคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูป สาระสำคัญของข้อเสนอดังกล่าวคือ การมีแนวทางและกลไกการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่เหมาะสม สื่อต้องมีสิทธิเสรีภาพบนความรับผิดชอบ และประชาชนมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สำหรับกลไกในการกำกับดูแลสื่อนั้น ทางคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูปได้เสนอกลไกการกำกับดูแล ๒ ขั้น ได้แก่ ขั้นที่หนึ่ง มีกลไกและกระบวนการ (OMBUDSMAN) ในการกำกับดูแลด้านจริยธรรมภายในองค์กรสื่อทุกองค์กร และขั้นที่สอง คือ ควรมีสภาวิชาชีพ เพื่อเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ให้อยู่ภายใต้มาตรฐานจริยธรรมเดียวกัน
ภายหลังจากที่รับข้อเสนอแล้ว รองประธานกรรมาธิการฯ ได้กล่าวขอบคุณคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูป ทางคณะกรรมาธิการ ยินดีรับฟังเสียงสื่อ และเป็นที่น่ายินดีที่แนวทางของคณะทำงานปฏิรูปสื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกับ
คณะกรรมาธิการ หลังจากนี้จะได้มีการรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิรูปสื่อต่อไป
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57) |
|
|
|