-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
การเดินทางเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อศึกษาดูงานด้านระบบการเลือกตั้ง

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

ระหว่างวันที่  ๑๖ – ๒๐  มีนาคม  ๒๕๕๘ คณะผู้แทนไทยนำโดย ศาสตราจารย์บวรศักดิ์  อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง และประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วย  รองศาสตราจารย์ทัศนา  บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ศาสตราจารย์สมบัติ  ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ นางกาญจนารัตน์  ลีวิโรจน์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พลเอก เลิศรัตน์  รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ นายศุภชัย  สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง นายประวิช  รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง และนายบุญส่ง  น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง เดินทางเยือนเยอรมนีอย่างเป็นทางการเพื่อศึกษาระบบการเลือกตั้ง ณ กรุงเบอร์ลินและเมืองคาร์ลสรูเฮอ ตามคำเชิญของรัฐบาลและรัฐสภาเยอรมนี 

                   
 ในระหว่างการเยือน คณะผู้แทนไทยได้มีโอกาสเข้าพบและหารือกับผู้แทนระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเยอรมนีหลายหน่วยงาน ได้แก่ ฝ่ายกฎหมายการเลือกตั้งและกฎหมายพรรคการเมืองของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติและกรรมการการเลือกตั้งแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี วุฒิสภา (Bundesrat) สภาผู้แทนราษฎร (Bundestag) รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค Christian Democratic Union (CDU)/Christian Social Union (CSU) ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการด้านมหาดไทยด้วย  พรรค Social Democratic Party (SDP) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค Green ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกลุ่มมิตรภาพอาเซียนของรัฐสภา สถานีวิทยุโทรทัศน์ Rundfunk Berlin – Brandenburg (RBB) ฝ่ายวิชาการของรัฐสภาด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) มหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ท (Humboldt) ในการนี้      นางนงนุช  เพ็ชรรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่คณะผู้แทนไทยในโอกาสเดินทางเยือนเยอรมนีในครั้งนี้ด้วย                    
                   
ในระหว่างการศึกษาดูงานคณะได้มีการหารืออย่างกว้างขวางในประเด็นต่าง ๆ กับฝ่ายเยอรมนี อาทิ ประวัติศาสตร์ที่หล่อหลอมให้พัฒนาเป็นระบบการเลือกตั้งของเยอรมนีในปัจจุบัน บทบาทและกลไกการทำงานของวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ระบบการเลือกตั้งแบบระบบสัดส่วนผสมหรือ “mixed member proportional representation system (MMP)” ที่มีการคิดคำนวณสัดส่วนที่นั่งจากการเลือกตั้งโดยตรงแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อหรือระบบสัดส่วน และการใช้รูปแบบพิเศษในการจัดสรรที่นั่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เรียกว่า Überhangsmandate หรือที่นั่งส่วนเกิน (Over hang seats) และ Ausgleichmandate หรือที่นั่งที่ได้รับการเกลี่ย (Compensatory seats) เพื่อให้ทุกคะแนนเสียงของประชาชนได้รับการพิจารณาและให้ได้พรรคการเมืองเข้าสภาผู้แทนราษฎรตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับวิธีการการจัดการเลือกตั้ง บทบาทของสื่อสาธารณะในการประชาสัมพันธ์และการรายงานข่าวการเลือกตั้ง การให้ความรู้ด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองแก่ประชาชน ที่มาของรายรับและการจัดสรรงบประมาณสำหรับพรรคการเมืองตามคะแนนเสียงที่ได้รับ นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้เข้าพบปะหารือกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสถานะและขอบข่ายความรับผิดชอบ ซึ่งถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญสูงสุดในการธำรงความยุติธรรมของกระบวนการเลือกตั้งและการสร้างความชอบธรรมของระบอบการปกครองของเยอรมนี
 
นอกเหนือไปจากนั้น คณะผู้แทนไทยยังได้ชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้แทนระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเยอรมนีเกี่ยวกับกระบวนการปฏิรูป การสร้างความปรองดองในสังคมไทย และกรอบเวลาในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน นอกเหนือจากบทบัญญัติที่ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญแล้วนั้น ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของเยอรมนีมาจากการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (political culture) ที่มีความชอบธรรมและโปร่งใส ความพร้อมในการประนีประนอม และจิตสำนึกในความเคารพเสียงส่วนน้อยทั้งในระดับสหพันธ์และระดับรัฐ รวมถึงการเรียนรู้บทเรียนของความผิดพลาดในประวัติศาสตร์และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อนึ่ง การเดินทางไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ คณะผู้แทนไทย  ได้ตั้งคำถามข้อมูลเชิงลึกและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องมากมาย จึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการศึกษาข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อนำมาประกอบการพิจารณานำระบบการเลือกตั้งของเยอรมนีมาประยุกต์ใช้กับไทยอย่างเหมาะสม อาทิ ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมและ Überhangsmandate รวมทั้ง การพบหารือระหว่างผู้แทนระดับสูงในระหว่างการเยือนได้เน้นย้ำความเป็นมิตรประเทศที่ดีระหว่างไทยและเยอรมนี และได้ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีอันดีระหว่างกัน
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)