|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
นายกัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม แถลงข่าวว่า วันนี้ (10 ส.ค. 66) ได้นำปัญหาความรุนแรงในตะเข็บชายแดนไทย เมียนมา เข้าหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายกัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม แถลงข่าวว่า วันนี้ (10 ส.ค. 66) ได้นำปัญหาความรุนแรงในตะเข็บชายแดนไทย เมียนมา เข้าหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตนได้รับหนังสือด่วนจากภาคประชาสังคมที่ทำงานชายแดนไทย - เมียนมา ประกอบด้วยมูลนิธิและเครือข่ายต่าง ๆ อาทิ สมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พช.) เสมสิกขาลัย มูลนิธิเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน เครือข่ายแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย พังงา ระนอง ชุมพร ประจวบฯ (คนไทยพลัดถิ่น) มูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล ความกังวลของพม่า เพื่อขอให้มีมาตรการคุ้มครองประชาชนตามแนวชายแดนตะวันตก ในสถานการณ์การสู้รบของประเทศเมียนมาที่มีการปฏิบัติการทางทหาร ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยเข้ามาในไทยเกือบ 1,000,000 คน ในฐานะที่ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย เมียนมา และทำงานในองค์การสหประชาชาติในการดูแลผู้ลี้ภัยในด้านมนุษยธรรม การทำงานในหน่วยงานความมั่นคงของไทย ทั้งนี้ ได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย 1. เสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้การเจรจาแบบทวิภาคีกับประเทศเมียนมา เพื่อให้ลดการปฏิบัติการทางทหารในเขต 5 กิโลเมตรจากตะเข็บชายแดน เป็น Safety Zone เพื่อเป็นการให้ความเป็นธรรมในชีวิตและทรัพย์สินของคนเมียนมาและคนไทยด้วย ซึ่งถือเป็นการลดผลกระทบที่จะมีผู้ลี้ภัยเข้ามาในประเทศ 2. เสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้การเจรจาแบบพหุภาคี โดยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพการจัดให้ประเทศอาเซียนมีการหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว 3. การเตรียมงบประมาณในการจัดการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้เพียงพอ 4.ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติได้พิจารณากำหนดนโยบายต่อการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้ชัดเจนต่อการปฏิบัติงาน
โอกาสนี้ ตนจะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้การสนับสนุน การจัดการทางด้านมนุษยธรรม เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงในเมียนมาที่จะมีผลต่อประชาชนไทยในเขตชายแดนตะวันตก |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|