FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้านสิทธิแรงงาน จาก สส.พรรคก้าวไกล นำโดยนายเซีย จำปาทอง พร้อมด้วยผู้แทนแรงงาน

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 24 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้านสิทธิแรงงาน จาก สส.พรรคก้าวไกล นำโดยนายเซีย จำปาทอง พร้อมด้วยผู้แทนแรงงานด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 
1. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ.  …. เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบันมีผู้ใช้แรงงานมากกว่าเจ็ดแสนคนที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่คุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ใช้แรงงานโดยรวม เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นการการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพิ่มอำนาจต่อรอง และเพิ่มเวลาเรียนรู้สำหรับแรงงานเพื่อพัฒนาตนเอง และให้หน่วยงานภาครัฐเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน จึงจำเป็นต้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดหรือเลี้ยงดูบุตรครรภ์หนึ่ง รวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน และรับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคมเพิ่มเติมอีกเก้าสิบวัน และกำหนดให้มารดาของบุตรสามารถมอบสิทธิการลาเลี้ยงดูบุตรส่วนของตนให้บิดาตามกฎหมายของบุตรหรือคู่สมรสตามกฎหมายของตนได้ไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีไม่มีบิดาหรือมารดาให้ผู้ปกครองตามกฎหมายได้รับสิทธิ (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 41)
2.  ร่าง พ.ร.บ.สหภาพแรงงาน พ.ศ. .... เนื่องจาก พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติหลายประการไม่เหมาะสมกับสภาพการในปัจจุบันและไม่สอดคล้องกับหลักการที่เป็นมาตรฐานแรงงานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลายมาตรายังขัดกับหลักการในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ที่ว่าด้วยเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วมและถูกกำหนดให้เป็นอนุสัญญาหลัก เป็นสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมอย่างจริงจัง จึงเป็นเหตุให้คนทำงานและผู้จ้างงานส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้จริง ภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.  2518  ยังมีข้อจำกัดที่จะทำให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทำงานและผู้จ้างงาน รวมทั้งมีปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทด้านแรงงานจำนวนมาก และหลายครั้งที่ความขัดแย้งและข้อพิพาทได้นำสู่การต่อสู้ เผชิญหน้ากันอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายให้กับทั้งคนทำงาน ผู้จ้างงาน และประเทศชาติโดยรวม และการที่คนงานส่วนใหญ่ไม่สามารถรวมตัวและทำการเจรจาต่อรองร่วมได้ ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรม มีค่าจ้างต่ำ สวัสดิการที่เลวร้าย ต้องทำงานหนักและยาวนานในแต่ละวัน ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายมีหลักการและสาระที่สอดรับกับสภาพแวดล้อมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างมาก และสอดคล้องกับมาตรฐานและหลักการอันเป็นสากล รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่คนทำงานและผู้จ้างงานสามารถทำงานร่วมกันด้วยความพอใจ อย่างสันติสุข และต่างได้รับความเป็นธรรม และที่สำคัญคือสามารถนำสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และสร้างสังคมที่เป็นธรรม เสมอภาค จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. นี้ 
3. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า พ.ศ. .... โดยให้รัฐต้องจัดให้มีบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าแบบถ้วนหน้า ให้ประชาชนที่อายุหกสิบปีทุกคน ด้วยสิทธิที่เสมอกัน ภายใต้หลักการสวัสดิการเป็นสิทธิอันพึงมีของประชาชน ที่มิใช่เป็นหน้าที่ของรัฐในการสงเคราะห์ ไม่มีความแตกต่างเหลื่อมล้ำกันในระหว่างประชากรอาชีพต่าง ๆ 

ทั้งนี้ นายเซีย จำปาทอง และ สส.พรรคก้าวไกล ได้กล่าวให้กำลังใจผู้ใช้แรงงานด้านต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าพรรคก้าวไกลจะไม่ได้เป็นรัฐบาลแต่ก็จะผลักดันนโยบายต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอต่อพี่น้องผ่านการหาเสียงที่ผ่านมา เพื่อให้พี่น้องแรงงานมีสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีชั่วโมงการทำงานที่ลดน้อยลง และผู้สูงอายุจะมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยพรรคก้าวไกลจะผลักดันกฎหมายแรงงานเหล่านี้ให้เป็นจริงให้ได้

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats