FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง และคณะ แถลงข่าวเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐสภาจังหวัด

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 20 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 15.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง และคณะ  แถลงข่าวเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐสภาจังหวัด โดยตนเพิ่งเสร็จสิ้นจากการประชุมคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินการจัดตั้งรัฐสภาจังหวัด ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรก โดยได้ฟื้นเรื่องการจัดตั้งสำนักงานรัฐสภาจังหวัดในทุกจังหวัดของประเทศไทยเพื่อให้ภารกิจของรัฐสภาได้เข้าถึงประชาชนและให้ประชาชนเข้าถึงรัฐสภา และในขณะที่กำลังประชุมอยู่นั้นได้มีการออกข่าวโจมตีว่า ตนกำลังผลาญงบและกำลังเตรียมการคอร์รัปชัน ซึ่งการดำเนินการนี้ยังไม่ได้มีการการพิจารณาว่าจะไปที่จังหวัดใดบ้าง เป็นเพียงการเริ่มต้น และการที่จะฟื้นรัฐสภาจังหวัดครั้งนี้เนื่องจากมีเรื่องเดิมอยู่ในสมัยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานรัฐสภา ได้เริ่มไว้ที่ 6 จังหวัด ต่อมาเมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการปฏิวัติ และได้ประเมินรัฐสภาจังหวัดทั้ง 6 แห่งที่เริ่มต้นนั้นว่าไม่ผ่าน ซึ่งครั้งนั้นไม่ได้มีการคอร์รัปชั่นใด ๆ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ประเมินว่าไม่คุ้มค่าและให้ยุติรัฐสภาจังหวัดลง ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่คณะปฏิวัติตั้งขึ้นและทำการประเมินสภาผู้แทนราษฎร จึงคิดว่าการประเมินครั้งนั้นอยู่ในอำนาจเผด็จการมากกว่า และในวันนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทุกพรรคได้มาเป็นสักขีพยาน ได้ร่วมกันคิดที่จะเริ่มต้นในงบประมาณปี 2567 และปี 2568 เพื่อให้การตอบสนองพี่น้องประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอาทิ การเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่าง ๆ โดยทุกครั้งมีความยากลำบาก แต่จากนี้ไปหากมีรัฐสภาจังหวัด การเข้าชื่อที่จะเสนอกฎหมายของภาคประชาชนจะรวดเร็วขึ้นและมีกฎหมายภาคประชาชนมากขึ้น ทั้งนี้ ขอแจ้งไปยังผู้ที่กล่าวว่า สส. ไม่เห็นด้วย และยังกล่าวหาว่ามีการเตรียมการที่จะผลาญงบประมาณครั้งใหญ่ว่า ไม่เป็นความจริง จึงขอชี้แจงต่อสื่อมวลชนให้เข้าใจว่าฝ่ายนิติบัญญัตินั้นมีการขยับขยายที่จะตอบสนองต่อพี่น้องประชาชนมากขึ้นหลังจากถูกปฏิวัติรัฐประหารมาถึง 2 ครั้ง และในวันนี้เราจะเริ่มต้นที่จะทำให้กระบวนการนิติบัญญัติเป็นประชาธิปไตยและตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องประชาชนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในการกำหนดงบประมาณของแต่ละจังหวัดในการเริ่มต้นนั้น ที่ประชุมจะได้ประชุมและปรึกษาหารือโดยใช้ฐานข้อมูลเดิมที่เคยมี ทั้งในเรื่องของคนและงบประมาณจากรัฐสภาจังหวัดทั้ง 6 แห่งที่เคยดำเนินการไว้ มาเป็นพื้นฐานในการพิจารณาดำเนินการในจังหวัดต่าง ๆ ต่อไป ส่วนกรณีที่มีการกล่าวว่าการจัดตั้งรัฐสภาจังหวัดจะซ้ำซ้อนกับศูนย์ดำรงธรรมนั้น ศูนย์ดำรงธรรมเป็นศูนย์ที่รับเรื่องร้องเรียนของฝ่ายบริหารคือกระทรวงมหาดไทย ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติคือสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งตามจริงแล้วเราตรวจสอบฝ่ายบริหารด้วย ดังนั้น หากรัฐสภาไปอยู่ในภูมิภาคหรือจังหวัดก็จะสามารถตรวจสอบฝ่ายบริหารได้มากขึ้น ตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้มากขึ้นติดตาม ตรวจสอบ และในเรื่องของเรื่องราวร้องทุกข์ต่าง ๆ โดยไม่ซ้ำซ้อนกับศูนย์ดำรงธรรมอย่างแน่นอน

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats