วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 11.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะ กมธ.วิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา และเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงข่าวเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจความขัดแย้งจังหวัดชายแดนใต้ว่า ในวันนี้ (6 ธ.ค. 66) คณะ กมธ. มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างความเข้าใจรากเหง้าความขัดแย้ง และกระบวนการสร้างสันติภาพ จังหวัดชายแดนภาคใต้ / ปาตานี ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้เกิดจากความคิดเห็นของคณะอนุ กมธ.ทั้ง 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุ กมธ.พิจารณาศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการเจรจาสันติภาพและข้อเสนอทางออกทางการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะอนุ กมธ.พิจารณาศึกษาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคณะกมธ. ได้มีโอกาสศึกษารับฟังความคิดเห็นประสบการณ์จากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเรื่องความขัดแย้งในจังหวัดภาคใต้ เพื่อให้ได้รับข้อมูลตรงกัน  เข้าใจถึงสาเหตุของความขัดแย้ง  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม จากการรับฟังความคิดเห็นนั้น จะมีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนการพูดคุยสันติภาพยังอยู่ระหว่างดำเนินการ  และยังไม่แล้วเสร็จ โดยมีหลายสิ่งที่จะต้องปรับปรุง อาทิ องค์ความรู้ในการรับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และประชาชนนอกพื้นที่ ซึ่งเชื่อว่าการสัมมนาในครั้งนี้คณะ กมธ. ได้รับประโยชน์ และจะนำสภาพปัญหาในพื้นที่และนอกพื้นที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อนำเสนอไปยังรัฐบาล
ทั้งนี้ จากการที่คณะ กมธ. ได้ทำงานไประยะหนึ่ง และจากการเสวนาในครั้งนี้มีประเด็นที่สำคัญที่คณะ กมธ. ได้พิจารณาศึกษา แบ่งออกได้ ดังนี้ 
1. บทบาทของรัฐสภาต่อการพูดคุยสันติภาพจะมีการออกกฎหมายหรือแก้กฎหมายอย่างไร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้
2. หลักการทำงานเพื่อให้เป็นการพูดคุยให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องมีการปรับบทบาทและยังไม่มีความชัดเจน  ระบบการทำงานที่เป็นประโยชน์ควรจะเป็นอย่างไร
3. ยับยั้งความขัดแย้งที่ส่งผลต่อปัญหาความหวาดกลัว  จากรับฟังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีประสบการณ์  ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเห็นที่แตกต่างกัน   
4. การทบทวนการเสนอใช้กฎหมายใหม่ในพื้นที่  อาทิ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควรจะมีออกกฎหมายใหม่หรือไม่ หรือจะมีการปรับปรุง
5. การปรับการจัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ ด้วยสันติวิธีเพื่อต้องการ การมีส่วนร่วมของประชาชน  โดยเฉพาะงบประมาณควรทำให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่   และควรจะมีขบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณ  
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการศึกษาไม่ใช่มติของคณะ กมธ. โดยประเด็นสำคัญที่จะมีการศึกษาให้ได้รับองค์ความรู้อย่างรอบด้าน และต้องการเห็นข้อเสนอแนะต่อปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้  ดังนั้น คณะ กมธ. จึงคาดหวังการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ โดยคณะ กมธ. มีการศึกษาภายใน 90 วัน และมีแนวโน้มที่จะขยายเวลา รวมทั้งจะลงพื้นที่ในต้นเดือน ม.ค. 67 และจะได้จัดทำข้อสรุปต่อไป
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats