วันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายปดิพัทธ์  สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง แถลงข่าวเปิดตัว MP Profile การประมวลผลงานสมาชิกฯ และความคืบหน้าโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการเป็น Smart Open Parliament 

นายปดิพัทธ์ กล่าวว่าวันนี้สภาฯ ได้เปิดตัว MP Profile การประมวลผลผลงานสมาชิกฯ ทางเว็บไซต์สภาฯ มีการ รวบรวมประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา การทำงานก่อนการเลือกตั้ง การแต่งตั้งผู้ช่วยดำเนินการ การปรึกษาหารือของสมาชิกฯ โดยจะมีรายละเอียดของเอกสารว่าได้ส่งไปไปถึงหน่วยงานใดบ้างมีหนังสือตอบกลับอย่างไรบ้าง ทั้งหมดจะเป็น Portfolio ของ สส.แต่ละท่าน ที่ประชาชนสามารถติดตามการทำงานได้ เป็นความโปร่งใสในการทำงาน และเป็นมาตรฐานที่พี่น้องประชาชนใช้พิจารณาในการเลือกตั้งในรอบต่อไป ส่วนเรื่องการขาด ลา สาย และเรื่องต่าง ๆ ตอนนี้  ยังเชื่อมโยงระบบไม่ได้  แต่ในอนาคตจะดำเนินการได้แน่นอนโดยจะเป็นระบบ real time ส่วนผลการลงมติ จำเป็นจะต้องจะมีการตรวจทานความถูกต้องของระบบการลงมติแบบเสียบบัตรจะประมวลแบบ hard copy เท่านั้นเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงมติ จึงไม่สามารถเชื่อมต่อแบบ real time ได้ โครงการที่สอง ผู้สังเกตการณ์การประชุม เมื่อวันที่ 3 - 4 เม.ย. ที่ผ่านมา สภาฯ ได้เปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนร่วมสังเกตการณ์การพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมทั้งสิ้น 377 คน จากการเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์มีความพอใจอยู่ในเกณฑ์ “ดี และ ดีมาก” และเห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมนี้ ทุกคนประทับใจที่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ได้ชมบรรยากาศการอภิปราย ได้เห็น สส. และคณะรัฐมนตรี ตัวจริงๆ และได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจกลับมายังสภาฯ ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมาดูตัวแทนของพวกเขาทำงาน มาดูสถานที่ที่พวกเขาเสียภาษี นี้เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เราอยากจะสร้างขึ้นให้สภาเป็นสภาของประชาชน

นอกจากนี้  เราพบว่าเรายังไปไม่ถึงหน่วยงานที่เรียกว่ามีสิทธิแรงงานที่น่าภาคภูมิใจ ยังไม่มีการประเมินผลการทำงานที่เป็นธรรม ตรงไปตรงมา หรือคำนึงถึงประสิทธิภาพการทำงานความปลอดภัยของผู้ทำงาน และสวัสดิการของผู้ทำงาน จึงได้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกับคณะกมธ. แรงงาน คณะกมธ. กิจการสภาฯ มีข้อเสนอในการปรับปรุง TOR ในการจัดซื้อจัดจ้างบริษัททำความสะอาด เพื่อทำให้การจัดทำ TOR ให้มีความโปร่งใส ไม่ล็อคสเปค ไม่เกิดการผูกขาดของบริษัทที่เข้ามาประมูลงานในรัฐสภา เป็นบริษัทที่ผ่านมาตรฐานแรงงานสากล ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง สิทธิประกันสังคม ประกันอุบัติเหตุ สวัสดิการ เช่น อาหารกลางวัน ห้องพักผ่อน สิ่งต่าง ๆเหล่านี้ตัวแทนของคณะกมธ. กำลังเร่งรับฟังความเห็นและเสนอแนะก่อนการจัดทำ TOR ฉบับใหม่ ประชาชนทุกคนเป็นคนสำคัญในรัฐสภาไม่ว่าจะเป็นประธานสภาไปจนถึงแม่บ้าน ทุกคนต้องมีความเสมอภาคในสิทธิที่พึงได้รับ เราไม่สามารถเป็นองค์การที่ผ่านกฎหมายที่ก้าวหน้าได้ โดยที่เราละเลย feedback ที่ใกล้ตัวที่สุด คือคนที่ทำงานให้กับพวกเราจนเรามีสภาที่สะอาดและใช้งานได้แบบนี้ สิ่งที่ก้าวหน้าในขั้นต่อไป คือ การยกระดับสภาให้เป็นสากล  ด้วยการตั้งกรรมการ Data Governance Council ตาม พ.ร.บ. การบริหารและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 บัญญัติว่าหน่วยงานรัฐจำเป็นต้องจัดทำชั้นข้อมูล ซึ่งขณะนี้ไม่มีเรื่องนี้ในสภา ซึ่งจะตั้งกรรมการ Data Governance Council ภายใน 1 ปีนี้คาดว่าเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนนี้ หลังจาก Data Governance Council สำเร็จจะทำโครงการ Big Data ของรัฐสภา สำหรับการยกระดับสภาให้เป็นสากลขึ้นไป คือ ปรับปรุงตัวชี้วัดประสิทธิภาพรัฐสภา โดยมีคณะทำงานเพื่อศึกษาการนำเกณฑ์และตัวชี้วัดระดับสากล Inter – Parliament Union (IPU) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ตัวชี้วัดด้านความโปร่งใส การเข้าถึงของประชาชน โดยปรับปรุงให้เหมาะสมโดยสถาบันพระปกเกล้าเข้ามาเป็นฝ่ายวิชาการช่วยปรับปรุงในเรื่องนี้

นอกจากนี้ ประธานรัฐสภาได้มีดำริในวันรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาว่า ถึงเวลาแล้วที่จะปรับปรุงโครงสร้างครั้งใหญ่ของรัฐสภา ให้เป็นสถาบันนิติบัญญัติที่ทันสมัย สอดรับกับภารกิจที่ชัดเจน และเป็นภารกิจแห่งอนาคตที่ก้าวหน้า เพราะฉะนั้นจะมีการปรับปรุงโครงสร้างรัฐสภาในส่วนของข้าราชการและหน่วยงานในสำนักงานฯ หน่วยงานใดที่มีการทำงานซ้ำซ้อนกันระหว่าง สส.และ สว. เช่น ระบบสารสนเทศของทั้งสองสภาที่ไม่เชื่อมโยงกันจะมีการปรับปรุง ซึ่งไม่ได้ปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2535 ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องจัดการองค์กรใหม่ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพราะข้าราชการทุกท่าน และผู้รับบริการทุกท่านในสภาแห่งนี้คือบุคลสำคัญที่จะปรับโครงสร้างให้ตรงกับความต้องการ และตรงกับความฝันของท่าน เพื่อพัฒนาองค์กรร่วมกัน โดยจะมีการ Kick Off ในวันที่ 19 เม.ย. การปรับปรุงโครงสร้างข้าราชการครั้งนี้จะเป็นการจัดการองค์กรเพื่อทำให้ทุกคนไปอยู่ในที่ที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง และไม่มีใครต้องตกงานอย่างแน่นอน แต่ทุกคนต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดใหม่ ซึ่งจะสามารถทำให้ Put the Right Man in the Right Job มีงานที่ตรงกับภารกิจของสภามากขึ้น ซึ่งจะมีวิทยากรหลายท่านมาร่วมงาน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารบริษัท SLM เจ้าของรายการในเครือ goodday official บรรณาธิการข่าว The Standard  ตัวแทนสื่อมวลชน ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย เพื่อทำให้เห็นว่าการไปข้างหน้าการจะมีรัฐสภาที่ประชาชนภูมิใจ มีบริการที่ทันสมัย เป็นสถาบันนิติบัญญัติที่สง่างาม การปรับโครงสร้างขององค์กรครั้งนี้จะเป็นก้าวย่างสำคัญ โดยจะรับฟังความความคิดเห็นตั้งแต่การ Kick Off ไปจนถึงปลายปี ก่อนที่จะนำความคิดเห็นทั้งหมดไปเสนอในการทำโครงสร้างใหม่และเสนอต่อประธานรัฐสภา  ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของการใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่สัมพันธ์กับเราตั้งแต่เกิด เติบโต มีคู่ชีวิต บรรลุนิติภาวะ ทำธุรกรรม เปิดบริษัท ทุกอย่างตั้งแต่เกิดจนตายอยู่ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่มีการสังคายนาหรือปฏิรูปกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาแล้ว 100 ปี หลายอย่างที่เกิดขึ้นในวันนี้ยังใช้มุมมองของกฎหมายเมื่อ 100 ปีที่แล้วเพราะฉะนั้นไม่มีมาตรฐานของศาลแต่ละศาลในการตัดสิน โรคหลังโควิด และโลกดิจิทัล ธุรกรรมของโลกปัจจุบันใช้กฎหมายฉบับเดิมอาจไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก เช่น การครอบครองปรปักษ์ การทำสัญญานิติกรรมอำพรางต่าง ๆ การบรรลุนิติภาวะในการแต่งงาน ทั้งหมดนี้จะมีการทำสังคายนาใหม่ ซึ่งฝ่ายบริหารจะทำหน้าที่ในการยกร่าง ฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ในการรวบรวมความคิดเห็นจากทั้ง สส. ประชาชน ฝ่ายวิชาการเพื่อทำให้การปรับปรุงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นวาระของสังคม ฟังความคิดเห็นจากทนายความ จากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย เราจะมีร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่สมบูรณ์ขึ้น คาดว่าใช้เวลา 2 ถึง 3 ปี ก็จะสามารถนำเข้ามาที่สภาแห่งนี้ได้ เราจะได้มีกฎหมายที่ทันสมัยคุ้มครองสิทธิ์ของประชาชนได้ดีขึ้นเกิดมาตรฐานในการพิจารณาคดีในโลกยุคปัจจุบันและอนาคตและจะมีการเสวนาครั้งแรกในช่วงเดือนพฤษภาคม ทั้งหมดนี้คือความคืบหน้าของโครงการต่าง ๆ  เมื่อปีที่แล้วเราพยายามทำเรื่อง Smart Digital Parliament และ Open Parliament ยังล้มลุกคลุกคลานในการศึกษาเรื่องของระเบียบทรัพยากรต่าง ๆ  แต่เมื่อนโยบายปักหลักแน่นและเดินหน้าในการทำงานจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนตอนนี้เราเข้าใกล้การมี ของการมี Smart Digital Parliament และ Open Parliament และสิ่งที่กำลังรอเพื่อจะทำให้เรามีตัวตนในระดับประชาคมโลกได้คือการแปลกฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับประชาคมโลกว่าเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมซึ่งตอนนี้ผ่านชั้น สว. แล้วอยู่ระหว่างการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats