เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เวลา 19.00 – 20.40 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมข้างเคียงของภาครัฐสภา (Parliamentary side-event) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในโอกาสการประชุมเวทีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ครั้งที่ 9 (the 9th UN  Multi-stakeholder Forum on Science, Technogy and Innovation for the Sustainable Development Goals) หรือ STI Forum ในหัวข้อ “The IPU Charter on the Ethics of Science and Technology : Harnessing Science, Technology and Innovation Responsibly” ซึ่งมีสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากหลายภาคส่วนกว่า 60 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุม โดยมี  Mr. Denis Naughten สมาชิกรัฐสภาไอร์แลนด์ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา (the IPU Working Group on Science and Technology : WGST) Ms. Attia Sahar สมาชิกรัฐสภาอียิปต์ ในฐานะรองประธานคณะทำงานฯ และสมาชิกคณะทำงานฯ จากเช็ก และโรมาเนีย พร้อมด้วย Mr. Michel Spiro นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส อดีตผู้อำนวยการองค์การ CERN เป็นผู้ร่วมอภิปราย (panelists) และ Mr. Maurizio Bona อดีตที่ปรึกษาผู้อำนวยการองค์การ CERN เป็นผู้ดำเนินรายการ

การประชุมฯ เริ่มต้นด้วย Ms. Patricia Torsney หัวหน้าสำนักงานผู้สังเกตการณ์ถาวรของสหภาพรัฐสภาประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก กล่าวเปิดการประชุม จากนั้น ผู้นำอภิปราย (Panelists) และผู้เข้าร่วมกิจกรรม (โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์อาหรับ) ได้ร่วมกันอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่อร่าง IPU Charter ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของคณะทำงาน WGST มีวัตถุประสงค์เพื่อวางหลักการให้รัฐสภาทั่วโลก ประสานเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกรัฐสภาและชุมชนวิทยาศาสตร์ ให้ทำงานใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมความโปร่งใส การทำงานแบบบูรณาการ การตัดสินใจโดยอิงข้อเท็จจริงและหลักฐานเชิงประจักษ์ และความรับผิดชอบในการพัฒนากรอบจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม  โดยผู้เข้าร่วมการประชุมได้กล่าวชื่นชมร่างเอกสารฉบับนี้ โดยเฉพาะในมิติของการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนเป็นสำคัญ และเมื่อจัดทำสำเร็จ ยังคาดหวังให้มีเผยแพร่กฎบัตรตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับโลก โดยเอกสารกฎบัตรว่าด้วยจริยธรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ IPU ดังกล่าว มีกำหนดจะเสนอให้ที่ประชุมสมัชชา IPU รับรองอย่างเป็นทางการ ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 ในเดือนตุลาคม 2567 นี้

เครดิต : ข่าวและภาพโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats