เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิ.ย. 67 เวลา 8.45 - 17.00 น. นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภา ไทยในการประชุมไตรภาคี ว่าด้วยการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่สดใสในอาเซียน: กลยุทธ์เพื่อความพร้อมในการรับมือ ด้านไซเบอร์ของอาเซียนและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Tripartite Forum on Building a Vibrant Digital Economy in ASEAN: Strategies for Cyber Resilience and Shared Prosperi) ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลามการประชุมไตรภาคีดังกล่าว จัดขึ้นเป็นครั้งแรกและเป็นการประชุมย่อยคู่ขนานการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 15 ซึ่งมีหัวข้อของ การประชุมสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 15 คือ การเสริมสร้างความพร้อมในการ รับมือด้านไซเบอร์ของอาเซียนผ่านความร่วมมือของรัฐสภา: มุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ปลอดภัยและสดใสในอนาคต (Strengthening ASEAN Cyber Resilience through Parliamentary Cooperation: Towards a Future of Safe and Vibrant Digital Economy) โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สมาชิกรัฐสภา AIPA เลขาธิการ AIPA ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนและเอเปค ประจำบรูไนดารุสซาลาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ คนที่ 2 ประธานกรรมการบริหารธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และประธาน สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA)
ที่ประชุมได้รับฟังการกล่าวปาฐกถาพิเศษและร่วมกันอภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการสร้างอาเซียนที่มีความพร้อมในการรับมือด้านไซเบอร์ ตลอดจน การนำเสนอในหัวข้อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ภูมิทัศน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อความพร้อมในการรับมือด้านไซเบอร์
ทั้งนี้ ในช่วงการอภิปรายในหัวข้อย่อย ว่าด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนดังกล่าว นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ผู้แทนรัฐสภาไทย ในฐานะผู้ร่วมกล่าวอภิปราย ได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชนเพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการรับมือด้านไซเบอร์ให้บรรลุผลสำเร็จ โดยรัฐสภาไทยมีการริเริ่มจัดตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการควบคุมและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการสร้างความเชื่อมั่นในการรับมือด้านไซเบอร์และการบริหารจัดการเกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย การปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และกรอบการกำกับดูแลกระบวนการทำงานด้าน AI (AI Governance) ตลอดจนแนวทางการพัฒนากรอบการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศสมาชิกให้มีความสอดคล้องกัน
เครดิตภาพและข่าว : กลุ่มงานสมัชชารัฐสภาอาเซียน สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร |