-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
การแถลงข่าวพิธีส่งมอบรายงานสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 19 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

วันศุกร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ พร้อมด้วยศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง และรองศาสตราจารย์ทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นพิธีส่งมอบรายงานสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของสภาปฏิรูปแห่งชาติต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า การทำงานของสภาปฏิรูปตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีภารกิจสำคัญ ๒ ประการคือการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญก้าวแรกคือการเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ประชุมสภาปฏิรูปครั้งแรกได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว สำหรับการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ นั้นเป็นภารกิจสำคัญที่สภาปฏิรูปจะต้องดำเนินการคู่ขนานกันไปกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยนับตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (๒๐ ธ.ค. ๕๗) เป็นต้นไปได้มีการกำหนดกรอบในการปฏิรูปไว้เป็น ๓ ส่วน ได้แก่

                    ๑. ส่วนที่หนึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติ หรือกระบวนการบางอย่างซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ หรือไม่จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป เช่น เรื่องเกี่ยวกับการถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายใหม่ และในนัยยะสำคัญของพระราชบัญญัติการออมแห่งชาติให้ความสำคัญกับบุคคลซึ่งประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งหมายถึงเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติจะพิจารณาเร่งรัดให้ทันก่อนปีใหม่รายละเอียดต่าง ๆ ต้องติดตามกันต่อไป

                    ๒. ส่วนที่สอง เป็นการปฏิรูปที่จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง หรือแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเดิม หรือตราพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ หรือการวางโครงสร้างหรือจัดรูปองค์กรใหม่ เช่นเรื่องวิสาหกิจชุมชน ในนัยยะสำคัญอยู่ที่กระบวนการและแนวคิดที่จะรองรับหลักการที่ว่าชุมชุนอาจทำวิสาหกิจได้โดยไม่ใช่ลักษณะวิสาหกิจหรือธุรกิจที่แสวงหากำไร ซึ่งเห็นว่าน่าจะมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เรื่องการตั้งสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ซึ่งจะมีการนำเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นหลักการสำคัญให้เห็นว่านอกจากการเผยแพร่ เก็บรวบรวม และรณรงค์ให้เกิดระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในประเทศชาติแล้วจะมีการกำหนดมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ที่ทำตนเป็นบุคคลสาธารณะซึ่งหมายรวมถึงนักการเมือง ผู้ที่ประสงค์หรือกระทำตนเป็นนักการเมือง หรือทำงานสาธารณะ รวมทั้งบุคคลในภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางนิติกรรมกับภาคสาธารณะหรือภาครัฐ ซึ่งจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนได้รับรู้จะปกปิดคงไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้อาจมีความสำคัญถึงขั้นตราเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องพิจารณากันต่อไป

                    ๓. ส่วนที่สาม เป็นการปฏิรูประบบ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือ    รื้อระบบซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ เช่น เรื่องการปฏิรูประบบการศึกษาไทย เรื่องระบบการจัดการรัฐวิสาหกิจไทย เรื่องระบบการงบประมาณ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการอาจไม่เสร็จสิ้นทันในยุคของสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่ว่าหลักการและแนวคิดทั้งหมดน่าจะต้องเสร็จทันภายในระยะเวลา ๑ ปีข้างหน้า

                    ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ที่จะนำพาประเทศไทยเดินไปข้างหน้าอย่างไรนั้น สภาปฏิรูปจะพิจารณาเพื่อตกลงกรอบวิสัยทัศน์ของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งหลังปีใหม่ และจากที่ได้เห็นคณะกรรมาธิการวิสัยทัศน์ได้ดำเนินการจนถึงขณะนี้นั้นมีผลถึงเปลี่ยนประเทศไทยจากจุดยืนปัจจุบันไปสู่อนาคตที่สดใสมากในวันข้างหน้า ขอให้ติดตามการทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติต่อไป

 

download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)