-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ทีมโฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองแถลงข่าวถึงการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการฯ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗ มีนาคมนี้

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันจันทร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายวันชัย สอนศิริ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง และนายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ กรรมาธิการฯ   ร่วมกันแถลงข่าวถึงการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมาธิการปฏฺิรูปการเมือง ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรมลองบีช การ์เด้น โฮเต็ล แอนด์ สปา จังหวัดชลบุรี โดยจะเป็นกำหนดกรอบในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการปฏฺิรูปการเมืองดังนี้
๑. ระบบรัฐสภา ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสัดส่วนผสม (MMP) ที่มาและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒสภา
๒. ที่มาของนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผูัแทนราษฎรหรือไม่ ความสัมพันธ์ของคณะรัฐมนตรีกับรัฐสภา ข้าราชการ และประชาชนจะเป็นอย่างไร
๓. องค์กรอิสระ ในประเด็นของการสรรหา วาระการดำรงตำแหน่ง การตรวจสอบ และการประเมินผลการปฏฺิบัติงานขององค์กรอิสระ
๔. พรรคเมือง และรูปแบบพรรคการเมือง
๕. การเลือกตั้ง จะจัดโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือจะให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) การเลือกตั้งต้องให้ได้คนดีเข้ามาทำหน้าที่ และมีระบบการเลือกตั้งที่สุจริต
๖. บทเฉพาะกาล
โดยทั้งหมดนี้ คณะกรรมาธิการจะพิจารณาอย่างรอบคอบและรอบด้าน เพื่อให้ได้ร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยมากที่สุด และต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่สามารถแก้ปัญหาสังคมได้ พร้อมทั้งจะกำหนดยุทธศาสตร์และตัวบุคคลในการอภิปราย โดยผู้ที่จะอภิปรายต้องสามารถโน้มน้าวให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้รับฟัง และปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์ มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของไทย และคณะกรรมาธิการจะพิจารณาทุกประเด็นอย่างดีที่สุด
 
ด้านนายบุญเลิศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการฯ ได้รายงานผลการศึกษาดูงานระบบการเลือกตั้งที่ประเทศเยอรมนี ให้แก่ที่ประชุมได้รับทราบ ระบบการเลือกต้้งแบบสัดส่วนผสมของเยอรมนีแม้จะมีส่วนดีที่กำหนดหลักการเติมเต็มเพื่อให้พรรคเล็กสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้ โดยไม่ทำให้คะแนนของประชาชนสูญเปล่า  แต่ระบบดังกล่าวมีความเหมาะสมกับประเทศเยอรมนี ที่มีพัฒนาการทางการเมืองมาเป็นลำดับ แต่จุดอ่อนของระบบดังกล่าวคือ การนับคำนวณคะแนน และยังไม่มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ซึ่งคณะกรรมาธิการจะได้ถกแถลงกันในการประชุมต่อไป เพื่อหาข้อสรุป พร้อมกันนี้ทางคณะกรรมาธิการยังได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อประมวลประเด็นต่างๆ จากร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมือง เพื่อความชัดเจน และเป็นหมวดหมู่ เพื่อง่ายต่อการพิจารณา หลังจากที่ได้ข้อสรุปแล้ว จะได้นำเสนอต่อที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้นำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์เหมาะสมมากที่สุด
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)