|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ |
|
|
|
|
|
|
-
กรอบการดำเนินงานสปช.
|
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ |
ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ แถลงข่าว
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 27 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558
|
วันศุกร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายจุมพล รอดคำดี ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะ แถลงสรุปรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง กฎหมายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีข้อเสนอแนะโดยภาพรวมดังต่อไปนี้
๑. กลุ่มเนื้อหากฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลฯ ว่าด้วยคณะกรรมการและกองทุน มีข้อเสนอแนะให้ กำหนดบทบาทของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เป็นเพียงผู้กำหนดนโยบาย โดยแยกผู้กำกับดูแล และผู้ประกอบการ ออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการแทรกแซงการดำเนินงานของกสทช. ด้วยวิธีการกำหนดให้กสทช. ดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเพียงอย่างเดียว และให้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้จัดทำแผนและนโยบายเสนอคณะรัฐมนตรี / ให้คงไว้ซึ่งกองทุน กทปส. กำหนดให้รัฐบาลจัดสรรเงินจากรายได้แผ่นดินที่ได้รับจากกสทช. เข้าสู่กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทแทนตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร / แก้ไขวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไม่ให้มีวัตถุประสงค์หรือภารกิจซ้ำซ้อนกับกองทุนที่มีอยู่แล้ว / แก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งและการดำเนินงานของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเพิ่มความโปร่งในและการตรวจสอบการดำเนินการ คุณสมบัติของคณะกรรมการทุกคณะ
๒. เกี่ยวกับพระราชบัญญัติกสทช. มีข้อเสนอแนะว่า ให้ชะลอการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. .... โดยขอให้คงหลักการความเป็นองค์กรอิสระของกสทช. ตามที่เป็นมา /ให้คงหลักการการจัดสรรทรัพยากรสื่อสารของชาติ ธุรกิจทุกประเภทกิจการต้องใช้วิธีการประมูล และต้องคงหลักการของการปฏิรูปการสื่อสารของชาติ
๓. กลุ่มเนื้อหากฎหมายเศรษฐกิจที่ว่าด้วยสำนักงานและธรรมมาภิบาล มีข้อเสนอแนะดังนี้ สร้างความชัดเจนของสำนักงาน / ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ / กำหนดให้รายได้ของสำนักงานต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินเป็นหลัก / กำหนดให้รายได้ของสำนักงานหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วต้องนำส่งรายได้แผ่นดินเป็นหลัก /ยกเลิกข้อกำหนดการยกเว้นความรับผิดในร่างพระราชบัญญัติต่างๆ /เพิ่มบทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างน้อยตามหลักการความรับผิดเด็ดขาด เพิ่มมาตรการเยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชนจากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการเฉพาะ และกำหนดกรอบการทำงานและประสานงานที่ชัดเจน ให้มีการกลั่นกรองจากศาล เพิ่มหลักการให้ความยินยอม
คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า นโยบายการพัฒนาประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเป็นเรื่องดี และควรได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในสังคม แต่รายละเอียดในร่างกฎหมายทั้ง ๑๐ ฉบับ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบรวมถึงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง ดังนั้นจำเป็นต้องมีความรอบคอบในการพิจารณา และระมัดระวังแก้ไขปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่เสนอแนะมาให้ครบถ้วนก่อนประกาศเป็นกฎหมาย
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57) |
|
|
|