-- สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุด ณ วันที่ 6 กันยายน 2558 --
 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
รายงานวาระปฏิรูปที่ผ่านความเห็นชอบของ สปช.
ค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ
ระบบสารสนเทศบริหารงานข้อมูลเพื่อการปฏิรูป
แผนภาพกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ
สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ สนง.เลขาธิการสภาปฏิรูปฯ
เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารภายใน สปช.
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อลงมติ
e-Mail@parliament.go.th
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
 
วีดิทัศน์สภาปฏิรูปแห่งชาติ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างฯ แถลงภายหลังการประชุม

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 11 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันอังคารที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๔๕ น. ณ หน้าห้องประชุม ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช  ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างฯ แถลงภายหลังการประชุมว่า
วันนี้มีการประชุมกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ยังค้างอยู่ ๒ เรื่อง ซึ่งขณะนี้ได้พิจารณา
จบ ๑ เรื่อง คือ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญมีทั้งหมด ๒๘๕ มาตรา โดยมาตรา ๑๑๘
จะเป็นมาตราเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภามีจำนวน ๒๐๐ คน โดยมาจากการเลือกตั้ง จังหวัดละ ๑ คน
รวม ๗๗ คน และมาจากการสรรหา ๑๒๓ คน ใน ๔ กลุ่มใหญ่ ส่วนมาตรา ๑๑๙ ได้กำหนดองค์ประกอบ
ของคณะกรรมการสรรหา ไว้ ๔ คณะ เพื่อทำหน้าที่ในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการสรรหา
ทั้ง ๔ กลุ่ม ซึ่งในวันนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันที่จะให้ปรับบทบัญญัติใน มาตรา ๑๑๙ เปลี่ยนเป็นให้
ที่มาองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ทั้ง ๔ กลุ่มเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ใน พ.ร.บ.
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาของสมาชิกวุฒิสภา
 เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของกรรมการสรรหาที่มีจำนวนมากเกินไป หรือไม่ยึดโยงกับอำนาจต่างๆ
ดังนั้นเพื่อความรอบคอบจึงได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ ประกอบรัฐธรรมนูญฯ เพื่อจะได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ของ
ทางสภา และเมื่อรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้เพื่อความเรียบร้อยในการปฏิบัติงานของสมาชิกวุฒิสภาในช่วง ๓-๔ 
ปีแรก และเพื่อให้การดำเนินงานในเรื่องการปฏิรูปการสร้าง ความปรองดองบรรลุเป้าหมายสูงสุด กรรมาธิการ
ยกร่างฯ จึงเห็นชอบที่จะให้บัญญัติการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาไว้ในบทเฉพาะกาลในช่วง ๓ ปีแรก โดยกำหนดว่า
ในช่วง ๓ ปีแรกหลังจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดใช้นั้น ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาภายใน ๑๕๐ วัน
โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดละ ๑ คน โดยตรงและลับ ๗๗
จังหวัด ๗๗ คน ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาฯ สรรหาสมาชิกวุฒิสภา จำนวนที่เหลืออยู่คือ
๑๒๓ คนให้สมาชิกวุฒิสภา ทั้ง ๒ แบบอยู่ในวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี หลังจากครบ ๓ ปี ให้ดำเนินการตาม
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในมาตรา ๑๑๘ และ มาตรา ๑๑๙ สำหรับผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือสรรหาเป็นสมาชิก
วุฒิสภาในวาระแรกหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นเวลา ๓ ปีนั้น ก็จะสามารถเข้ารับการสรรหาหรือลงสมัคร
รับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในโอกาสต่อไปได้ ไม่จำกัดสิทธิในรัฐธรรมนูญ ส่วนคุณสมบัติในการเข้ารับการสรรหาหรือ
ลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาหลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
 
 
 
 
download download Download all images download
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร Call Center 1743 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร 0 2244 1000 e-Mail : webmaster@parliament.go.th
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
(เริ่มนับ 2 ต.ค. 57)