เมื่อวันพุธที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมรัฐสภาอิเล็กทรอนิกส์โลก
(World e-Parliament Conference) ครั้งที่ ๘คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย
นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ นายพงศ์กิตติ์ อรุณภักดีสกุล ที่ปรึกษาด้านการเมือง การปกครอง และการบริหารจัดการ
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และนางพรพิศ เพชรเจริญ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเริ่มด้วยวาระการประชุม
ในเวลา ๐๙.๓๐ - ๑๑.๐๐ นาฬิกา เป็นการเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอในหัวข้อที่เสนอ
โดยผู้เข้าร่วมประชุม (Unconference) เรื่อง Transparency in political financing
ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องความโปร่งใสในการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พรรคการเมืองต่าง ๆ
เพื่อส่งเสริมการทำงานให้แก่พรรคการเมืองในการพัฒนาประเทศ ซึ่งทั้งในเรื่องที่มาของเงินสนับสนุน
และช่องทางการโอนเงินหรือให้เงินสนับสนุนนั้น ต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูล
ชัดเจน และประชาชนสามารถตรวจสอบได้ โดยวิธีการที่สอดคล้องกับความเป็นรัฐสภาดิจิตัล
ในยุคปัจจุบันคือการให้ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซด์ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล
ได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย
เวลา ๑๑.๓๐ - ๑๓.๐๐นาฬิกา คณะผู้แทนเข้าร่วมรับฟังการอภิปราย เรื่อง Sharing
innovation between parliaments ซึ่งที่ประชุมอภิปรายไปในทิศทางเดียวกันว่า
รัฐสภาดิจิตัลเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิตัล
ในยุคปัจจุบัน รัฐสภาจึงควรพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานให้มี
ความรวดเร็ว โปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยไม่ลืมที่จะส่งเสริมในเรื่อง
ของความโปร่งใสตรวจสอบได้ และเปิดช่องทางให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาสืบค้น
ข้อมูลหรือมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภาผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์
หรือสื่อโซเซียลมีเดียต่าง ๆ
เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๔.๓๐ นาฬิกา คณะผู้แทนฯ เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอนวัตกรรมโดดเด่น
ของรัฐสภา (Parliamentary showcase) ซึ่งในวาระนี้เป็นการนำเสนอโปรแกรม XML -
Xcential เนื่องจากทุกวันนี้โลกของเรามีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
และได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ที่เห็นได้ชัดคือ เทคโนโลยีบนอินเทอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็น การเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือการส่งจดหมายอิเล็คโทรนิกส์ที่เรียกว่า E-mail
ซึ่งกำลังเป็นมาตรฐานของการติดต่อสื่อสารสำหรับอนาคต ทำให้ต้องมีการคิดเพื่อ
พัฒนาให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นการเขียนเว็บไซต์ในปัจจุบันนี้ โดยปกติแล้วสิ่งที่จะใช้สร้าง
เว็บได้คือ ภาษา HTML ที่เรารู้จักกันดีเท่านั้น แต่ว่าวันนี้โลกได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี
ใหม่ที่ใช้สำหรับการเขียนเว็บ นั่นคือ XML ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายผลิตภัณฑ์ให้การสนับสนุน
Extensive Markup Language (XML) เป็นภาษาที่ให้ความชัดเจนในการให้
รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล และการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยแอพพลิเคชัน
บนเว็บและใช้ฟอร์มที่ยืดหยุ่นได้ตามมาตรฐาน HTML หรือ Hyper Text Markup
Language ได้เปิดโลกแห่งการแสดงข้อมูลต่าง ๆ มานำเสนอ ส่วน XML จะทำให้
การทำงานกับข้อมูลโดยตรงที่เสริมกับการทำงานของ HTMLสิ่งที่ถือได้ว่าเป็นเสน่ห์
ของ XML นั้นจะเป็นความสะดวกในการจัดการด้านระบบการติดต่อกับผู้ใช้จากโครงสร้าง
ของข้อมูล เราสามารถนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาแสดงผลและประมวลผล
ร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า รายการสั่งซื้อ ผลการวิจัย รายการรับชำระเงิน
ข้อมูลเวชระเบียน รายการสินค้าหรือข้อมูลสารสนเทศอื่น ๆ ก็สามารถแปลง
ให้เป็น XML ได้ แลในส่วนของข้อมูลสามารถปรับให้เป็น HTML ได้
สำหรับประโยชน์ในการใช้งานนั้นเราจะสามารถนำมาใช้สำหรับการเข้าถึงระบบ
ข้อมูลขนาดใหญ่ใช้กับระบบเครือข่ายในองค์กร หรืออินเตอร์เน็ตเพื่อดูข้อมูลหรือเรียกใช้
ข้อมูลที่ให้การแสดงผลทางหน้าจอที่รวดเร็วและง่ายในการจัดการต่อมาเวลา ๑๔.๓๐ -
๑๖.๐๐ นาฬิกา คณะผู้แทนฯ ได้เข้าร่วมวาระสุดท้ายของการประชุม คือ การร่วมรับฟังข้อมูล
อัพเดตเรื่อง UN Secretary-Generals High-level Panel on Digital Cooperation ต่อด้วยไฮไลท์
ของการประชุม และพิธีปิดการประชุม โดยนายมาร์ติน จุนกอง เลขาธิการสหภาพ
รัฐสภา เป็นผู้กล่าวปิดการประชุม
เครดิต : ภาพและข่าวโดยสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |