วันพฤหัสบดีที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๕๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ คนที่สอง พร้อมด้วยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทาง
การบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ และคณะ ร่วมกันแถลงข่าว ผลการประชุมคณะ กมธ. ครั้งที่ ๑๙ ซึ่งได้มีการพิจารณาศึกษา (ร่าง)
แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๖๓ ๒๕๖๕ และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ โดยเชิญผู้แทน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยสรุปได้ ดังนี้
๑. ผู้แทนคณะกรรมาธิการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ (ร่าง) แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ ๒๕๖๕ อยู่ระหว่างการเสนอให้คณะ กมธ. พิจารณาปรับปรุงแก้ไข สาระสำคัญเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ (๑) ปรับลดปริมาณความจุของอ่างเก็บน้ำจาก ๒ ล้านลูกบาศก์เมตร ให้มีขนาด ความจุไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์เมตร (๒) ปรับลดพื้นที่รับประโยชน์แหล่งน้ำจากพื้นที่จำนวน ๒,๐๐๐ ไร่ ให้มีพื้นที่จำนวน ๕๐๐ ไร่ (๓) กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำแล้ว หากเกินศักยภาพในการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น สามารถโอนภารกิจดังกล่าวกลับคืนมาสู่ภารกิจของกรมชลประทานและ หน่วยงานด้านแหล่งน้ำที่เกี่ยวข้องได้
ทั้งนี้ การโอนภารกิจดังกล่าวกลับคืนมาจะต้องเสนอต่อคณะกรรมการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาเป็นรายกรณี จากนั้น คณะ กมธ.วิสามัญ ได้พิจารณาแล้วมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อ แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๖๓ -๒๕๖๕ และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) ร่างแผนดังกล่าวควรปรับแผนให้มีการแยกประเภทองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นให้ชัดเจนโดยกำหนดให้อ่างเก็บน้ำขนาดความจุไม่เกิน ๑ ล้านลูกบาศก์เมตร
ภารกิจด้านแหล่งน้ำให้อยู่ในความรับผิดชอบดำเนินการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (๒) ร่างแผนดังกล่าวควรกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบ ดำเนินการภารกิจอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดความจุไม่เกิน ๑ แสนลูกบาศก์เมตร พร้อมกำหนดจำนวนวงเงินงบประมาณที่ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจะดูแล รับผิดชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพและงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีศักยภาพเพียงพอ ควรเปิดโอกาส ให้สามารถร้องขอให้มีการถ่ายโอนภารกิจอ่างเก็บน้ำที่มีความจุตั้งแต่ ๑ แสนลูกบาศก์เมตรขึ้นไปได้
(๓) ในกรณีที่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการก่อสร้าง ดูแล และบำรุง รักษาแหล่งน้ำได้ไม่ว่าเหตุใด ให้ร้องขอต่อองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ส่วนราชการหรือกรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านทรัพยากรน้ำ ที่เกี่ยวข้อง (๔) ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ประสงค์จะก่อสร้าง ดูแล และ บำรุง รักษาแหล่งน้ำไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ส่งแหล่งน้ำนั้นให้ส่วนราชการหรือ กรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านทรัพยากรน้ำที่เกี่ยวข้องได้โดยสมัครใจ (๕) ควรปรับกระบวนการร้องขอให้ถ่ายโอนมาหรือถ่ายโอนภารกิจ ด้านแหล่งน้ำกลับคืนไปให้หน่วยงานสามารถทำได้โดยง่าย (๖) ควรประเมินและทบทวนภารกิจด้านแหล่งน้ำที่ถ่ายโอนไปว่าภารกิจใดไม่ควร มีการถ่ายโอน เช่น ฝายและประตูน้ำ นอกจากนั้นควรมีการประเมินศักยภาพ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทด้วย |