วันพุธที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๑๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา น.ส. ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรรมาธิการและที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียง ประชามติ พ.ศ. .... รับยื่นหนังสือจากนายพิษณุวัฒน์ สิงห์ชัย ตัวแทนกลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ เรื่อง ขอให้มีการแปรญัตติร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... เพื่อรับรอง สิทธิในการลงประชามติของคนไทยผู้มีถิ่นอยู่นอกราชอาณาจักร
ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียง ประชามติ พ.ศ. ..... เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยมีวัตถุประสงค์ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะได้เข้าสู่ขั้นตอนรับหลักการโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้นกลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ โดยสมาคมนักเรียนไทยในสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักเรียนไทยในสมาพันธรัฐสวิส กลุ่มนักเรียนไทย ในเบลเยียม กลุ่มนักเรียนไทยในไต้หวัน ชมรมนักเรียน-นักศึกษาไทย ในโปแลนด์ และกลุ่มนักเรียนไทยในประเทศสวีเดน มีความกังวล อย่างยิ่งต่อเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการลงคะแนนประชามติของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร กล่าวคือ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมิได้มีการระบุถึงการใช้สิทธิออกเสียงของ ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร ตามที่เคยบัญญัติไว้ก่อนหน้านี้ใน มาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียง ประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ ความว่า "กรณีการออกเสียงทั่วราชอาณาจักร คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการ ใช้สิทธิออกเสียงของ ... หรือผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร รวมทั้งวิธีการนับคะแนน และแจ้งผลคะแนนการออกเสียงในกรณีดังกล่าวด้วย
"กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศมีความเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า เนื้อหาที่เปลี่ยนไปดังกล่าวจะนำมาซึ่งการเสียสิทธิในการลงประชามติ ของคนไทยในต่างประเทศจำนวนกว่าล้านคน อนึ่ง สิทธิในการออกเสียงประชามติ เป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนไทยทุกคนพึงได้รับ และรัฐสมควรอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธินั้นในฐานะกลุ่ม นักเรียนไทยในต่างแดน เรียกร้องสิทธิดังกล่าวนี้ด้วย ซึ่งการลงประชามติ ในแต่ละครั้งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นไปของบ้านเมือง ดังเช่น การออกเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และ ๒๕๖๐ อันเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรากฎหมายสูงสุดของประเทศ
นอกจากนี้ กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศยังเห็นว่า การจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ในต่างประเทศนั้น สามารถกระทำได้ในลักษณะคล้ายคลึงกับการเลือกตั้ง นอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ผู้จัดการเลือกตั้งสามารถพิจารณาให้มีการนับคะแนน เสียงในประเทศต้นทางเพื่อลดภาระในการดำเนินงานได้อีกด้วยจึงขอเรียกร้อง และขอสนับสนุนให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย การออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... เพื่อรับรองสิทธิในการออกเสียงของผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ นอกราชอาณาจักร อย่างน้อยที่สุดในกรณีออกเสียงประชามติทั่วราชอาณาจักร
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการออกเสียงประชามติตามกฎหมายฉบับนี้เป็นไปด้วยความถูกต้อง
และได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศและเป็นทางออกให้กับปัญหาของชาติ
อย่างแท้จริงโดย น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กล่าวว่า ทางคณะ กมธ. ได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญในประเด็นนี้เป็นอย่างมาก และมีความยินดีที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนเพิ่มเติม จากประเด็นที่สมาชิกฯ ได้อภิปรายในที่ประชุม
ทั้งนี้ คณะ กมธ. ได้มีการประชุมไปแล้วจำนวน ๑ ครั้ง โดยได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ในคณะ กมธ. พร้อมกันนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มีดำริให้คณะ กมธ. ดำเนินการรวบรวมความเห็นของสมาชิกฯ ที่ได้มีการ อภิปรายในที่ประชุมมาประกอบการพิจารณา ตลอดจนนำกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาร่วมด้วยอย่างไรก็ตาม ในวันที่ ๑๖ ธ.ค. นี้ เป็นวันสุดท้ายของการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม หากประชาชนต้องการแสดง ความคิดเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การออกเสียง
ประชามติ พ.ศ. .... สามารถส่งมายังคณะ กมธ. หรือผ่านทางสมาชิกรัฐสภา เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมพิจารณาเพิ่มเติมได้ |